Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK
 
          เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor คือ อุปกรณ์สำหรับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ได้ทั้งความร้อน และความเย็น เหมาะสำหรับใช้วัดอุณหภูมิในห้องควบคุมอุณหภูมิ, ห้อง Clean Room, งานภาคอุตสาหกรรม, ห้องอบ,
ห้องแล็ป, คลังวัตถุ (Ware House) เป็นต้น ปัจจุบัน เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor สามารถแบ่งออก
เป็นประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้
          1. เทอร์โมคัปเปิล หรือ Thermocouple เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ได้ทั้งความร้อนและความเย็น ทำจากโลหะ 2 ชนิดเชื่อมปลายเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิทั้ง 2 ด้านต่างกัน จะเกิดกระแสไหลในวงจร โดยจะเกิดความต่างศักย์ (Millivolt) เกิดขึ้นระหว่างลวดปลายทั้ง 2 เส้น ซึ่งโลหะต่างชนิดแต่ละคู่จะให้ค่า (Millivolt) เท่าเดิมที่อุณหภูมิเดิม ดังนั้น ถ้าใช้ลวดโลหะต่างชนิดกันมาใช้วัดในช่วงอุณหภูมิต่างๆ กัน จะทำให้แต่ละ Type เหมาะกับการวัดค่าย่านอุณหภูมิที่ต่างกัน จึงจำเป็นต้องแยกชนิดของ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) โดยสามารถแบ่งเป็น Type ดังนี้ K, J, R, S, T,ฯลฯ
 
โครงสร้างของ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ชนิดของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)

          2. อาร์ทีดี หรือ พีที100 (Resistance Temperature Detector (RTD), PT100) เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ได้ทั้งความร้อน และความเย็น ซึ่งให้ค่าการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูงกว่า เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หัววัดอุณหภูมิทำมาจาก แพลทินั่ม (Platinum) โดยให้ลวดแพลทินั่มที่อุณหภูมิ 0 °C จะมีค่าความต้านทาน 100 (โอมห์; Ω)
 
โครงสร้างของ อาร์ทีดี หรือ พีที100
Resistance Temperature Detector (RTD), PT100
กราฟค่าความต้านทานที่อุณหภูมิต่างๆของ อาร์ทีดี หรือ พีที100 Resistance Temperature Detector (RTD), PT100
         
         3. Thermistor อุปกรณ์วัดอุณหภูมิชนิดความต้านทาน
โดยค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับความร้อน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
          3.1 PTC (Positive Temperature Coefficient) หรือ พีทีซี เทอร์มิสเตอร์ (PTC Thermistor) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเพิ่มขึ้น (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 1KΩ, 2KΩ,10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส ถึง 130 องศาเซลเซียส
          3.2 NTC (Negative Temperature Coefficient) หรือ เอ็นทีซี เทอร์มิสเตอร์ (NTC Thermistor) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะลดลง (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 2KΩ, 10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส ถึง 130 องศาเซลเซียส
 
         
          จากข้อมูลที่ผู้บรรยายกล่าวมาข้างต้น เกี่ยวกับโครงสร้างของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor นั้น ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างนึงในการเลือกพิจารณา คือ วัสดุท่อ (Temperature Probe) ที่ใช้เป็นโครงสร้างในการผลิตของท่อโพรบ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ประเภทต่างๆ นั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยวันนี้ผู้บรรยายจะกล่าวถึงวัสดุท่อที่เหมาะสำหรับงานอุณหภูมิสูง (High Temp.) ในหัวข้อ “แนะนำวัสดุของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temp. Sensor) ที่เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิสูง (High Temp.)”  โดยงานที่ผู้ใช้สามารถพบเห็นในการวัดอุณหภูมิสูง (High Temp.) จะนิยมให้กับ Temperature Sensor ชนิด Thermocouple เป็นส่วนใหญ่ และจะพบเจอในงาน ยกตัวอย่างเช่น เตาหลอมอลูมิเนียม, เตาเผา, งานขึ้นรูปที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง (High Temp.)  หรืองานที่มีสารเคมี กรด ด่าง เป็นต้น โดยมีประเภทวัสดุที่เหมาะกับงานอุณหภูมิสูง (High Temp.) ดังนี้

 
 วัสดุ
คุณสมบัติ
รูปตัวอย่าง
SUS310S
เป็นเกรดสแตนเลสที่ออกแบบมาใช้กับงานที่มีอุณหภูมิถึง 950 - 1,100 ºC แบบต่อเนื่อง จึงเหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิสูง เช่น งาน Heat treatment ห้องเผาไหม้ในบอยเลอร์
Inconel
เป็นโลหะผสมเสริมความแข็งแรงด้วยสารละลายแข็งที่มีนิกเกิล-โครเมียม-เหล็กทนอุณหภูมิสูงและทนต่อการเกิดออกซิเดชันได้ดีสูงสุด 1,200 ºC จึงเหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิสูง เช่น งาน Heat treatment ห้องเผาไหม้ในบอยเลอร์
Ceramic Alumina
แกนทำจากเซรามิค ที่เป็นวัสดุผสมทำมาจากดินอะลูมิน่าอย่างดี ทนความร้อนได้สูงกว่า 1600 ºC นิยมใช้ในงาน เตาเผา , งานขึ้นรูปที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงๆ (สำหรับ Type R, S)
Silicon Carbide
มีคุณสมบัติ  มีความแข็งสูง  ทนอณหภูมิได้สูงได้ดี  สามารถระบายความร้อนได้ดี และทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้มาก  นิยม นำไปใช้ในงานหลอมอลูมิเนียม ทนอุณหภูได้สูงมาก 1500 ºC (สำหรับ Type R, S)

          ยกตัวอย่างการใช้งานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ประเภท Thermocouple Type K โดยวัสดุท่อทำจาก Ceramic
 
ยกตัวอย่างการใช้งานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ประเภท Thermocouple Type K
โดยวัสดุท่อทำจาก Ceramic  ในอุตสาหกรรม เตาเผาเซรามิค อบโมลด์โลหะ
 
        ยกตัวอย่างการใช้งานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ประเภท Thermocouple Type R โดยวัสดุท่อทำจาก Inconel
 
ยกตัวอย่างการใช้งานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ประเภท Thermocouple Type R
 โดยวัสดุท่อทำจาก Silicon Carbide  ในอุตสาหกรรม
เตาหลอมโลหะ เช่น เหล็ก
       
        ดังนั้น
จากตารางชนิดของวัสดุที่มาผลิตท่อโพรบ และตัวอย่างการใช้งาน สามารถบอกถึงข้อดีของเลือกใช้ วัสดุของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temp. Sensor) ที่เหมาะสำหรับงานวัดอุณหภูมิสูง (High Temp.)
  • เพิ่มอายุการใช้งานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ให้ยาวนานขึ้น
  • ลดความสูญเสียของชิ้นงานที่จะเกิดขึ้นหาก เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ชำรุด
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามไปด้วย
  • ลดการ Maintenance ของผู้ใช้งานเนื่องจาก เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor  มีการใช้งานยาวนานขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายในการ ซ่อมบำรุง เนื่องจาก เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ หรือ Temperature Sensor มีราคาค่อนข้างสูงกว่า ชนิดอื่นๆ

    ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
อุตสาหกรรมผลิตขวดแก้ว
เตาเผาเซรามิค
เตาหลอมเหล็ก

Digital Temperature Controller PID Control Function Single Phase Solid State Relay Heater Digital Temperature Indicator Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK