Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง เป็นฮีตเตอร์สำหรับให้ความร้อนกับชิ้นงานหรือวัตถุโดยตรง โดยใช้หลักการนำความร้อนที่คงที่และสม่ำเสมอให้กับชิ้นงาน เช่น การให้ความร้อนกับแม่พิมพ์, หัวพ่นกาว, แผ่นเพลท, เครื่องพิมพ์ทอง, หัวปั๊ม, ชิ้นงานเหล็ก, เครื่องรีดถุงพลาสติก, เครื่องห่อซองพลาสติกใส่อาหารและขนม เป็นต้น

     ตัวอย่างรูปคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง

     โดยทั่วไปแล้วคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ High Density ให้ความร้อนสูง และแบบ Low Density ให้ความร้อนต่ำหรือปานกลาง ดังนี้

คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
แบบ High Density
คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
แบบ Low Density
     Cartridge Heater แบบ High Density โดยที่ข้อดีของ Cartridge Heater แบบ High Density คือ จะเป็นฮีตเตอร์ให้กำลังวัตต์สูง ให้ความร้อนได้ดี มีความทนทาน ใช้งานได้ยาวนานกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการอุณหภูมิสูง โดย Cartridge Heater แบบ High Density มีหลักการและขั้นตอนในการผลิตที่ต้องรีดท่อโลหะที่มีตัวนำและฉนวนแมกนีเซียมออกไซด์ภายใน โดยจะถูกบีบอัดแน่น จึงทำให้ทนอุณหภูมิได้สูง และมีกำลังวัตต์สูง วัตต์ต่อพื้นที่ (Watt/cm²) สูงขึ้น      Cartridge Heater แบบ Low Density โดยที่ข้อดีของ Cartridge Heater แบบ Low Density คือ จะเป็นฮีตเตอร์ที่ให้กำลังวัตต์ต่ำจนถึงปานกลาง มีราคาถูก เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการอุณหภูมิที่สูงมากเท่านั้น โดย Cartridge Heater แบบ Low Density มีหลักการและขั้นตอนในการผลิต จะร้อยลวดตัวนำกับฉนวนแมกนีเซียมออกไซด์และใส่ผงแมกนีเซียมออกไซด์ ช่องว่างระหว่างท่อโลหะกับลวดตัวนำ แต่จะไม่ถูกบีบอัดให้แน่น จึงทำให้ทำกำลังวัตต์ได้ไม่สูง วัตต์ต่อพื้นที่ (Watt/cm²) ไม่สูง

 


     ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เป็นฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่มีครีบสแตนเลสช่วยในการกระจายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนในงานอากาศที่ต้องใช้ความร้อนกับชิ้นงาน โดยใช้หลักการการนำพาความร้อน เหมาะสำหรับใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง เช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), โซลิตสเตทรีเลย์ (Solid State Relay) เพื่อควบคุมในระบบ

     ตัวอย่างรูปฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)


     ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) จะมีรูปร่าง (Shape) แบบต่าง ๆ โดยมีลักษณะติดตั้งแบบไม่มีเกลียวและลักษณะติดตั้งแบบมีเกลียว ดังนี้

ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว U (U-Shape Finned Heater) ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว I (I-Shape Finned Heater)

• ติดตั้งแบบไม่มีเกลียว


• ติดตั้งแบบมีเกลียว

• ติดตั้งแบบไม่มีเกลียว



• ติดตั้งแบบมีเกลียว


 
ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว W (W-Shape Finned Heater) ฮีตเตอร์ครีบแบบเหลี่ยม (R-Shape Finned Heater)
• ติดตั้งแบบไม่มีเกลียว


• ติดตั้งแบบมีเกลียว

• ติดตั้งแบบไม่มีเกลียว







 


     จากข้อมูลของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง และ ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ที่ผู้บรรยายได้บรรยายเกี่ยวกับหลักการและความหมายดังข้างต้นนั้น วันนี้ผู้บรรยายจะขอกล่าวถึงการแนะนำวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสมของฮีตเตอร์ (Heater) ทั้ง 2 ประเภทนี้ ในหัวข้อ “การเลือกใช้ Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง) / Finned Heater (ฮีตเตอร์ครีบ) ให้เหมาะสมกับงาน” ดังนี้

     1. คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง เหมาะสำหรับใช้ให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ที่เป็นโลหะ, ชิ้นงานเหล็ก, เครื่องปั๊มทอง, เครื่องรีดถุงพลาสติก, งานขึ้นรูป โดยสามารถยกตัวอย่างการต่อใช้งานดังนี้

     หมายเหตุ : ข้อควรระวังในการติดตั้งคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง ในรูแม่พิมพ์ ขนาดของรู (Hole) ที่ใส่ควรมีขนาดโตกว่าฮีตเตอร์ (Heater) ประมาณ 0.02-0.05 mm. เพื่อให้การถ่ายเทความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นการยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูปตัวอย่าง

     ข้อควรระวังในการติดตั้งคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่งในรูแม่พิมพ์

     ตัวอย่างการระบุรายละเอียดของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง

     ยกตัวอย่างการติดตั้งใช้งานคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง กับเครื่องแพ็ค, เครื่องบรรจุ

     ยกตัวอย่างการติดตั้งใช้งานคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง กับเครื่องแพ็ค, เครื่องบรรจุ ข้อสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง ให้เหมาะสมกับหน้างานควรพิจารณาอะไรบ้าง?
     • ขนาดแกน (D) mm. และขนาดความยาว (L) mm. ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
     • แรงดัน (V) และกำลังไฟฟ้า (W) ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
     • ชนิดของสาย (สายแข็งและสายอ่อน) ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
     • ชนิดการหุ้มสาย (Heater Wire, สแตนเลสถัก SUS 304, ท่อ Flexible) ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
     • ความยาวสาย (M) ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง
     • การกำหนดระยะของ Heat Zone และ Cool Zone ของคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) หรือ ฮีตเตอร์แท่ง

     2. ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เหมาะสำหรับใช้ในงานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น โดยสามารถยกตัวอย่างการต่อใช้งานดังนี้

     ยกตัวอย่างการติดตั้งใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ในเครื่องชิงค์ฟิล์ม (Shrink Film)

     จากตัวอย่างการติดตั้งใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ในเครื่องชิงค์ฟิล์ม (Shrink Film) ข้อสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับหน้างานควรพิจารณาอะไรบ้าง?
     • เลือกรูปร่างแบบ U-Shape Finned Heater, I-Shape Finned Heater, W-Shape Finned Heater หรือ R-Shape Finned Heater
     • ขนาดแกน (D) mm. และขนาดความยาว (L) mm. ของฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)
     • แรงดัน (V) และกำลังไฟฟ้า (W) ของฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้
     • ระยะห่างระหว่างของ U-Shape Finned Heater และของ W-Shape Finned Heater
     • กรณีติดตั้งฮีตเตอร์ (Heater) ควรเลือกพัดลมขนาดที่เหมาะกับจำนวนของฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อใช้ในการนำพาความร้อนไปใช้งาน
     • ไม่ควรใช้กับงานลักษณะร่วมกับของเหลว เนื่องจากจะเกิดตะกรันจับที่ครีบของฮีตเตอร์ (Heater) ทำให้ความร้อนไม่สามารถถ่ายเทได้
     • กรณีที่ให้ความร้อนกับอากาศที่ไม่หมุนเวียนควรเลือกวัสดุที่ใช้ทำฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอินโคลอยด์ เนื่องจากมีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนได้ดีและทนอุณหภูมิได้สูงกว่าชนิดอื่น

     นอกจากข้อควรระวังดังกล่าวมาข้างต้น อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) คือ การคำนวณอุณหภูมิและขนาดวัตต์ (Watt) ของฮีตเตอร์ (Heater) ที่กล่าวไว้ในหัวข้อ การคำนวณเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับงาน ที่ผ่านมา

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

ตู้อบลมร้อน สำหรับอบแห้งอาหาร
(Finned Heater)
เครื่องบรรจุ แบบแนวนอน
(Cartridge Heater)
งาน Duct Heater ทำความร้อนในตู้อบ
การอบชิ้นงาน (Finned Heater)

Digital Monitor For Heater Break Alarm Heater Break Alarm Phase Anglel Solid State Relay 3-Phase SCR Power Regulator Digital Temperature Controller PID Control Function

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK