Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน โดยใช้หลักการจ่ายกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำ (ตัวความต้านทาน R) ซึ่งส่งผลให้ลวดตัวนำมีความร้อนเกิดขึ้น โดยแหล่งจ่ายไฟสามารถใช้ได้กับแรงดัน 220VAC และ 380VAC ปัจจุบันผู้อ่านสามารถพบการใช้ฮีตเตอร์ (Heater) ในงานภาคอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่มีการสร้างความร้อนให้กับชิ้นงาน เช่น งานขึ้นรูปพลาสติก, งานอบอาหาร, ห้องอบสี เป็นต้น ซึ่งฮีตเตอร์ (Heater) ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน โดยมีประเภทของฮีตเตอร์ (Heater) ดังนี้ โดยฮีตเตอร์ (Heater) ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานดังนี้

     1. ฮีตเตอร์สำหรับใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด เช่น ต้มน้ำ, อุ่นน้ำมัน, อุ่นสารเคมี เป็นต้น
     2. ฮีตเตอร์สำหรับใช้ให้ความร้อนในอากาศเท่านั้น เช่น งานอบแห้ง, ไล่ความชื้น, ใช้ในท่อ Duct, งานเตาอบต่าง ๆ
     3. ฮีตเตอร์สำหรับใช้ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยตรง เช่น งานแม่พิมพ์, เครื่องรีดถุงพลาสติก

     โดยในวันนี้ทางผู้บรรยายจะขอนำเสนอเกี่ยวกับฮีตเตอร์สำหรับใช้ให้ความร้อนกับของเหลว ในหัวข้อ "การเลือกใช้ฮีตเตอร์ตัมน้ำ,ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) และฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ให้เหมาะสมกับงานของเหลว" ว่ามีหลักการในการพิจารณาเลือกซื้อหรือเลือกใช้อย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับงานและให้ผลิตภัณฑ์ออกมามีคุณภาพ

   ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/จุ่ม (Immersion Heater) ให้ความร้อนกับของเหลว เช่น การอุ่นน้ำมัน, การต้มน้ำ ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องอุ่นหรือต้มของเหลวทุกประเภท หรือของเหลวที่เหนียวข้น เช่น ยางมะตอย    ฮีตเตอร์ทิวบูล่าร์/ท่อกลม (Tubular Heater) ให้ความร้อนได้ทั้งอากาศ ของเหลว น้ำ เหมาะกับการใช้เพื่ออบสี อบชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ อบใยผ้า อบพลาสติก อบอาหาร


     ฮีตเตอร์ตัมน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนหรืออุ่นต้มของเหลว (Liquid) เพื่อให้ได้อุณหภูมิตามต้องการ โดยการจุ่มลงไปในของเหลวที่ต้องการให้ความร้อน อาศัยหลักการในการถ่ายเทความร้อนสู่ของเหลวเพื่อให้เกิดความร้อน เหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่มีการต้มหรืออุ่นของเหลว เช่น งานต้มน้ำ, งานอุ่นน้ำมัน, อุ่นหรือต้มเคมีบางชนิดที่ไม่มีผลต่อวัสดุของตัวฮีตเตอร์ (Heater) เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น โดยฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) มีลักษณะการติดตั้งแบบหน้าแปลนยึดและติดตั้งแบบยึดเกลียว และมีวัสดุให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงานทั้ง SUS 304, SUS 316, Incoloy 840, ทองแดง เป็นต้น

รูปตัวอย่าง : ฮีตเตอร์ตัมน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ลักษณะการติดตั้ง

 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ในเครื่องล้าง
ตัวอย่างการติดตั้ง Immersion Heater ในเครื่องล้าง ให้ความร้อนกับน้ำ เพื่อเอาน้ำร้อนไปใช้ล้างคราบสิ่งสกปรกที่ตะกร้า/พาเลท เป็นต้น


     **ข้อควรระวังในการใช้งานของฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ชนิดนี้คือ ต้องคำนึงถึงระยะ Heat Zone จะต้องไม่ให้โผล่พ้นของเหลว เพราะจะมีผลทำให้เกิดการเผาตัวเองและขาดในที่สุด**

     ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) คือ ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบที่ไม่ติดครีบ สามารถดัดงอได้ตามลักษณะหน้างานการติดตั้ง สามารถใช้ให้ความร้อนได้ทั้งอากาศ ของเหลว และโมลด์โลหะ นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น ใช้ให้ความร้อนกับอากาศ เช่น ให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง, งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนกับของเหลว เช่น ต้มน้ำในอ่างน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำร้อนขนาดเล็ก เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนกับโมลด์โลหะ เช่น งานแม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) มีวัสดุให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงานทั้ง SUS 304, SUS 316, Incoloy 840, ทองแดง เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถดัดงอเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้หลากหลายตามลักษณะการติดตั้งหน้างาน โดยส่วนมากรูปแบบ Tubular Heater ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม มีดังนี้

ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว I
(Tubular Heater I-Shape)
ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว U
(Tubular Heater U-Shape)
ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว W
(Tubular Heater W-Shape)
ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบขดยากันยุง

 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ในเตาอุ่นอาหารไฟฟ้า
ตัวอย่างการติดตั้ง Tubular Heater ในเตาอุ่นอาหารไฟฟ้า โดยการให้ความร้อนกับน้ำภายใต้ถาดอาหาร


     จากข้อมูลข้างต้นจะสรุปได้ว่าในการเลือกใช้ฮีตเตอร์ตัมน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) และฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ให้เหมาะสมกับงานของเหลว มีดังนี้
     • กำลังวัตต์ : เนื่องจากค่ากำลังวัตต์ต่อพื้นที่ของ Immersion Heater จะมีค่ามากกว่า Tubular Heater ในกรณีที่ขนาดความยาวและขนาดท่อที่เท่ากัน ดังนั้นหากต้องการกำลังวัตต์ในการใช้งานที่มาก Immersion Heater จะได้กำลังวัตต์มากกว่า Tubular Heater
     • ปริมาณของเหลว : งานที่มีปริมาณที่มีของเหลวมาก แนะนำให้ใช้เป็น Immersion Heater จะดีกว่าเนื่องจากสามารถทำวัตต์ได้มากกว่า และจะใช้จำนวนฮีตเตอร์ในการติดตั้งที่น้อยกว่า
     • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่ใช้งานก็จะสืบเนื่องจากปริมาณของเหลวด้วยเช่นกัน หากมีปริมาณของเหลวมาก ในการทำอุณหภูมิก็จะต้องใช้เวลามาก กำลังวัตต์ที่ใช้งานก็จะสูงตาม ถ้าในกรณีเช่นนี้แนะนำเป็น Immersion Heater จะเหมาะสมกว่า
     • พื้นที่การติดตั้ง : เนื่องจาก Immersion Heater คือการนำ Tubular Heater แบบ U-Shape มาประกอบเข้าเกลียว/หน้าแปลน ดังนั้น พื้นในการติดตั้งจึงมีผลเนื่องจาก Immersion Heater จะมีขนาดใหญ่ หากมีพื้นที่ให้ความร้อนน้อย เช่น ถาดอุ่นอาหารด้วยน้ำร้อน แนะนำให้เลือกใช้งานเป็น Tubular Heater จะเหมาะสมกว่า

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

Immersion Heater ในเครื่อง Boiler Immersion Heater ในกระบวนการ Pre-Heat Tubular Heater ต้มน้ำในไลน์ผลิต

Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm Digital Temperature Controller PID Control Function Temperature Sensor 3 Phase scr Power Regulator

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK