Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     มัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) คือ ขั้วต่อไฟฟ้าที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นคอนเนคเตอร์ (Connector) ที่มีจำนวนขั้วต่อหลายขั้ว ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control รวมถึงเครื่องจักรและระบบเชื่อมสัญญาณต่าง ๆ โดยมีให้เลือกหลากหลายตามความเหมาะสมของงาน มีตั้งแต่จำนวนขั้วสายน้อย ไปถึงจำนวนขั้วสายมาก ประกอบไปด้วย ตัวผู้ (Male), ตัวเมีย (Female), ฐานยึด (Housing), ฝาครอบ (Hood) และตัวรัดสาย (Cable Gland) ซึ่งถูกออกแบบมาใช้กับงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, บรรจุภัณฑ์, โรงไฟฟ้า, ระบบขนส่ง สำหรับช่วยในการติดตั้งทั้งในลักษณะงานเครื่องจักรอยู่กับที่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ในกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างเครื่องออกแบบเพื่อนำเครื่องจักรเคลื่อนย้ายไปทำการติดตั้งหน้างาน

     มัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) มีลักษณะโครงสร้างที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบผิว หรือวัสดุอย่างอื่นที่ไม่เกิดสนิม ตัวหน้าสัมผัส (Contact) มีความทนกระแสสูงกว่าการใช้งานจริง และสกรูขันที่ทนต่อการต้องถอดเข้าออกบ่อย

รูปตัวอย่างมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) รายละเอียดของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
1. Cable Grand
2. Hood
3. Male Insert
4. Female Insert
5. Housing


     มัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) ที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร?
     1. คอนเนคเตอร์ (Connector) ที่ดีต้องมีหน้าสัมผัสโลหะที่สามารถทนต่อการรับกระแสสูงสุดได้ โดยมีพิกัดกระแสใช้งานที่สามารถพบได้ทั่วไปในงานอุตสาหกรรม เช่น Contact สำหรับงาน Power จะอยู่ที่ 35A หรือ 80A และ Contact สำหรับงาน Control จะอยู่ที่ 10A หรือ 16A เนื่องจากมีผลต่อการเลือกใช้สายไฟ ซึ่ง Multipole Industrial Connector ในปัจจุบันจะมีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้งาน Control อย่างเดียว, Power อย่างเดียว และ Power+Control รวมกัน
     2. คอนเนคเตอร์ (Connector) ระบบซีลยางที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหรือฝุ่นเข้าไปหน้าสัมผัส
     3. คอนเนคเตอร์ (Connector) ในการต่อเชื่อมสาย สิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงคือความต้านทานของจุดต่อเชื่อมสายจะต้องมีค่าน้อยที่สุด โดยต้องทำให้พื้นที่หน้าสัมผัสสะอาด (ไม่มีฝุ่น) โดยต้องมีการ Maintenance ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน

     ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้าที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน ผู้ใช้ควรพิจารณาดังนี้

     1. Size ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
          โดยจะมีอยู่ 2 ขนาดด้วยกัน คือ Size A และ Size B โดยที่ Sizes A จะมีขนาดตัวที่เล็กกว่า Sizes B รวมไปถึง Sizes A จะมีรุ่นที่ทนกระแสและแรงดันได้น้อยกว่า Sizes B โดยจะมีอักษรตัว A หรือ B กำกับตามเลขของจำนวน Pole นั้น ๆ นั่นเอง

ตัวอย่าง Size ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) และวิธีสังเกต



     2. จำนวนขั้ว (Pole) ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือจำนวนขั้วต่อไฟฟ้า (Pole)
          ส่วนใหญ่จะเป็นเลขคู่ เช่น 6, 10, 16, 24, 32 และ 48 เป็นต้น และบวกด้วย Ground ในปัจจุบัน Multipole Industrial Connector จะมีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้งาน Control อย่างเดียว, Power อย่างเดียว และ Control+Power

ตัวอย่าง จำนวนขั้ว (Pole) ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือจำนวนขั้วต่อไฟฟ้า (Pole)


     3. ขนาดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
          ขนาดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) จะมีแรงดันไฟฟ้า (Voltage) สำหรับแรงดันไฟฟ้าสำหรับงาน Power โดยมีให้พิจารณาเลือกตั้งแต่ 230V, 400V, 500V และ 690V เป็นต้น และสำหรับงาน Control มีตั้งแต่ 230V, 250V และ 400V เป็นต้น

ตัวอย่าง ขนาดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)


     4. พิกัดกระแส (A) การใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
          พิกัดกระแส (A) การใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) เช่น หน้า Contact สำหรับงาน Power จะอยู่ที่ 35A หรือ 80A และ Contact สำหรับงาน Control จะอยู่ที่ 10A หรือ 16A เนื่องจากมีผลต่อการเลือกใช้สายไฟ ซึ่ง Multipole Industrial Connector ในปัจจุบันจะมีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้งาน Control อย่างเดียว, Power อย่างเดียว และ Power+Control รวมกัน

ตัวอย่าง พิกัดกระแส (A) การใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
งาน Control อย่างเดียว
งาน Power อย่างเดียว
งาน Power+Control


     5. การระบุประเภทการออกสายแบบด้านข้างหรือแบบด้านบน เพื่อเลือก Hood และ Housing ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)
          โดยผู้ใช้ต้องจะต้องพิจารณารูปแบบการออกสายแบบออกด้านข้างหรือแบบด้านบน เพื่อทำการเลือก Hood และ Housing ของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) ให้เหมาะสมกับการติดตั้งการใช้งาน

ตัวอย่าง การระบุประเภทการออกสายแบบด้านข้างหรือแบบด้านบน เพื่อเลือก Hood และ Housing
ของ
มัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector)


     ดังนั้นการที่ทราบถึงลักษณะการติดตั้งของหน้างานในเบื้องต้นและจำนวนขั้วต่อ (Pole) ที่จะใช้งานนั้น จะทำให้การเลือก Multipole Industrial Connector มีความเหมาะสมและไม่เสียเวลาในการติดตั้งเพิ่มภายหลัง

     จากคุณสมบัติ และ 5 การพิจารณาเลือกซื้อมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้าที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ทางผู้บรรยายได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้บรรยายสามารถยกตัวอย่างการติดตั้งการประยุกต์ใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้าได้ดังนี้

ยกตัวอย่างการติดตั้ง การประยุกต์ใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้า กับเครื่องฉีดพลาสติก

 

ยกตัวอย่างการติดตั้ง การประยุกต์ใช้งานของมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้า กับตู้คอนโทรล


     ข้อดีของการการติดตั้งมัลติโพลคอนเนคเตอร์ (Multipole Connector) หรือขั้วต่อไฟฟ้า ในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้
     • สะดวกและง่ายในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในกรณีที่ระบบมีปัญหา
     • รวดเร็วสำหรับกระบวนการผลิตและการประกอบ ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก
     • ลดความยุ่งยากในการเชื่อมต่อสายปริมาณมาก ๆ เวลาเคลื่อนย้ายเครื่องจักร
     • สามารถป้องกันการต่อสายไฟผิดพลาดการเดินสายไฟเป็นระเบียบ สวยงาม
     • มีโครงสร้างพลาสติกและโลหะ มีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหนัก (Heavy Duty) งานที่มีการสั่นสะเทือน
     • สามารถกันฝุ่น กันน้ำได้ (สำหรับรุ่นมี Cover)

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

Hot Runner Controller Molds with multipole connector Control Panel


Terminal Block Wiring Duct Connector PLC , Programmable Logic Controller Relay Module

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK