Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) คือ หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีแขนกล เลียนแบบโครงสร้างแขนของมนุษย์ โดยประกอบไปด้วยข้อต่อหลายส่วน เชื่อมต่อกันด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และส่วนปลายแขนกลสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หัวจับ (Gripper), หัวเชื่อม (Welding Head), หัวพ่นสี (Sprayer) หรือกล้อง (Camera) เป็นต้น หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) สามารถควบคุมการทำงาน เคลื่อนที่ หยิบจับ วางประกอบชิ้นงาน เชื่อม พ่นสี หรือตรวจสอบชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย

ตัวอย่างหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ที่สามารถพบเห็นได้ในงานภาคอุตสาหกรรม


     องค์ประกอบหลักของหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm)
     • โครงสร้าง : ประกอบไปด้วยข้อต่อหลายส่วน เชื่อมต่อกันด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โครงสร้างต้องมีความแข็งแรง ทนทาน รองรับแรงบิด แรงกระแทก และน้ำหนักของชิ้นงาน
     • ระบบขับเคลื่อน : มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนข้อต่อต่าง ๆ มอเตอร์ต้องมีประสิทธิภาพสูง ควบคุมความเร็ว แรงบิด และตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
     • ระบบควบคุม : ควบคุมการทำงานของมอเตอร์ กำหนดท่าทาง ความเร็ว และแรงบิดของแขนกล ระบบควบคุมอาจเป็นแบบโปรแกรมไว้ล่วงหน้า ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล หรือควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
     • เซ็นเซอร์ : ตรวจจับสภาพแวดล้อม ตำแหน่ง และแรงกดของชิ้นงาน เซ็นเซอร์ที่ใช้ทั่วไป เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ เซ็นเซอร์วัดแรงกด เซ็นเซอร์วัดระยะทาง
     • อุปกรณ์ปลายแขน : ติดตั้งที่ปลายแขนกล ทำหน้าที่หยิบจับ วาง ประกอบชิ้นงาน เชื่อม พ่นสี หรือตรวจสอบชิ้นงาน อุปกรณ์ปลายแขนที่ใช้ทั่วไป เช่น หัวจับ หัวเชื่อม หัวพ่นสี กล้อง

     ปัจจุบันโลกเราอยู่ในยุค Digital Disruption คือ ยุคสมัยที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญทำให้มนุษย์จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต รวมถึงการทำงานและโครงสร้างธุรกิจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นระบบ AI จึงเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น ระบบ Automation Warehouse ที่ให้หุ่นยนต์มาทำงานทดแทนคนอย่างสมบูรณ์แบบ และระบบ IoT ที่เชื่อมทุกระบบในโรงงานให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน เป็นต้น

     ดังนั้นในวันนี้ผู้บรรยายขอกล่าวถึงหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทในงานอุตสาหกรรมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการช่วยเหลือและแบ่งเบามนุษย์ในการทำงาน โดยสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และต่อเนื่อง โดยไม่ต้องหยุดพัก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ ช่วยลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มเวลาการทำงานและเพิ่มผลผลิต สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มคุณภาพของงาน สามารถควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยให้มั่นใจได้ว่างานจะได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ซึ่งผู้อ่านจะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก

     ในการติดตั้งหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) นั้น การเพิ่มความปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ ที่จำเป็นต้องประจำอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) การเพิ่มความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งมีเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ซึ่งในวันนี้ผู้บรรยายจะขอกล่าวถึงการติดตั้งเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) กับ หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ในหัวข้อ “ทำไมหุ่นยนต์แขนกลต้องติดเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain)”

ตัวอย่างเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ยี่ห้อ SMART SCAN


     โดยเหตุผลที่หุ่นยนต์แขนกลจำเป็นต้องติดเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) มีดังนี้
     • ป้องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
          เซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) จะทำหน้าที่เป็นกำแพงลำแสงที่มองไม่เห็น เมื่อมีวัตถุใด ๆ ตัดผ่านลำแสง เซ็นเซอร์จะตรวจจับและส่งสัญญาณเตือน หยุดการทำงานของหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานถูกส่วนเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์บาดเจ็บ เซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) สามารถติดตั้งได้ในหลายระดับความสูง เหมาะสำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การทำงานใกล้กับจุดตัดเฉือน การเชื่อมโลหะ หรือการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์แขนกลหลายตัว เป็นต้น

     • เพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพการทำงาน
          เซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ช่วยให้หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทำงานในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องทำงานร่วมกับวัตถุที่มีขนาดเล็ก และเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ยังช่วยให้หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มผลผลิต

     • ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย
          กฎหมายความปลอดภัยกำหนดให้หุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น เซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) เพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตราย การติดตั้งเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) เป็นการเพิ่มความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน

     • ช่วยให้ทำงานได้อย่างมั่นใจ
          เมื่อมีเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์แขนกล (Robot Arm) ได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับบาดเจ็บ และเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ช่วยลดความเครียดและความกังวลของผู้ปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างการต่อใช้งานเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) ยี่ห้อ SMART SCAN


     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

เครื่องเชื่อมอัตโนมัติ เครื่องพับเหล็ก/สแตนเลส หุ่นยนต์แขนกลหยิบกล่อง

Safety Light Curtain Signal Tower Light Digital Preset Counter Digital Frequency Meters With Alarm Programmable Logic Controller,PLC

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK