Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
     ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันเราจะพบปัญหาต่าง ๆ ในระบบการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เช่น อุณหภูมิ ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้คอนโทรลไฟฟ้าโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เครื่องจักรหยุดการทำงาน (Shutdown) เมื่อเครื่องจักรมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
     การติดตั้งพัดลมติดตู้คอนโทรลพร้อมแผ่นกรองฝุ่น
 (Cabinet Filter Fans) เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องอุณหภูมิ ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกในตู้คอนโทรลนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ยาวนานยิ่งขึ้นและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
     โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกและการติดตั้ง พัดลมตู้คอนโทรลพร้อมแผ่นกรองฝุ่น (Cabinet Filter Fans) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้
 
1. พัดลมติดตู้คอนโทรลพร้อมแผ่นกรองฝุ่น (Cabinet Filter Fans) แบบติดตั้งด้านข้างและด้านหน้าของตู้
 
รูป 1.1 แสดงการติดตั้งพัดลม 2 ตัว ทั้งแบบดูดลมเข้าตู้ (ติดตั้งด้านล่าง) และเป่าลมออกจากตู้ (ติดตั้งด้านบน) เพื่อช่วยระบายความร้อนให้ดียิ่งขึ้น
 
     พัดลมติดตู้คอนโทรลแบบติดตั้งด้านข้างนี้จะช่วยให้เราลดปัญหาเรื่องความร้อนและฝุ่นละอองภายในตู้ได้ดีเพราะเป็นพัดลมที่มาพร้อมกับแผ่นกรองฝุ่น อีกทั้งเรายังสามารถเลือกทิศทางลมได้ทั้งแบบดูดลมเข้าและเป่าลมออก ลักษณะงานที่ต้องใช้ทั้งแบบดูดลมเข้าและเป่าลมออกนี้จะนำมาใช้งานในลักษณะงานดังนี้ คือ แบบติดตั้งพัดลมทั้งสองด้าน โดยด้านหนึ่งเลือกพัดลมแบบดูดลมเข้าตู้ติดตั้งไว้บริเวณด้านล่าง และอีกด้านหนึ่งเลือกพัดลมแบบเป่าลมออกจากตู้ติดตั้งไว้บริเวณด้านบน เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนภายในตู้คอนโทรลให้ดียิ่งขึ้นและมีแรงลมมากกว่าปกติที่ติดตั้งเพียงแค่ 1 ตัว
 
รูป 1.2 แสดงการติดตั้งพัดลม 1 ตัว (ติดตั้งด้านบน) และติดตั้งหน้ากากพร้อมแผ่นกรองฝุ่น (ติดตั้งด้านล่าง)
 
     ติดตั้งพัดลมด้านบนเพียงด้านเดียวและด้านล่างอีกด้านหนึ่ง ติดตั้งหน้ากากพร้อมแผ่นกรองฝุ่นเท่านั้น ส่วนการเลือกพัดลมตู้คอนโทรลพร้อมแผ่นกรองฝุ่นนั้น ควรเลือกที่รูปร่างสวยงามเหมาะกับตู้คอนโทรลของเรา และเลือกแบบที่สามารถเปลี่ยนแผ่นกรองฝุ่นได้ง่าย เราควรทำความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นเป็นประจำอย่างน้อย  1 ครั้งต่อสัปดาห์ และหากพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมากอาจจะเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นเป็น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็จะยิ่งดีมากขึ้น
 
2. พัดลมติดตู้คอนโทรลแบบติดตั้งด้านบนหรือพัดลมติดหลังคาตู้  (Exhaust Radial Fans,Roof Fans)
 
รูป 2.1 แสดงการติดตั้งพัดลมหลังคาตู้ไว้ด้านบน และติดตั้งหน้ากากพร้อมแผ่นกรองไว้บริเวณด้านล่าง
 
     พัดลมติดตู้คอนโทรลแบบติดตั้งด้านบนนี้ (Exhaust Radial Fans,Roof Fans) จะระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากพัดลมชนิดนี้ถูกออกแบบให้ใบพัดไว้สำหรับดูดอากาศที่มีความร้อนในตู้คอนโทรล และเหวี่ยงลมร้อนออกด้านข้างของตัวพัดลม ซึ่งการระบายความร้อนด้วยวิธีนี้จะระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากโดยปกติความร้อนจะลอยขึ้นด้านบนอยู่แล้วจึงเหมาะกับการติดตั้งพัดลมหลังคาตู้ (Exhaust Radial Fans,Roof Fans) และควรติดหน้ากากพร้อมแผ่นกรองฝุ่นบริเวณด้านล่างของตู้คอนโทรล เพื่อให้มีการหมุนเวียนของอากาศภายในตู้คอนโทรล ทำให้การระบายความร้อนได้ดีและป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามาภายในตู้คอนโทรล

ข้อแนะนำ  : ในกรณีที่ต้องการยืดอายุการใช้งานพัดลมและประหยัดพลังงานไฟฟ้า ควรติดตั้ง Thermostat และต่อร่วมกับพัดลมติดตู้คอนโทรลเพื่อให้พัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลาในกรณีที่อุณหภูมิภายในตู้ได้ตามที่ตั้งค่าไว้แล้ว (28-30 ํC)


Tips. หากในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิภายนอกสูงและมีความชื้นในบริเวณนั้น ซึ่งการใช้พัดลมอาจจะไม่ตอบโจทย์ในการใช้งาน ทางเราจึงขอนำเสนอ แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (Air Condition for Control Boxs) ในเรื่องราวต่อไป.....