Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
     ปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีทั้งมลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีฝุ่นละออง ความชื้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องมีการควบคุม ภายในระบบบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตคือ ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรลเกิดความร้อนสะสม ทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์สั้นลงและทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรเกิดการขัดข้อง หรือเกิดความผิดพลาด (Error) ในกระบวนการผลิตของระบบอุตสาหกรรม
     ดังนั้นจึงมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยระบายอากาศในตู้คอนโทรล เช่น พัดลมระบายอากาศในตู้คอนโทรล ซึ่งการติดตั้งพัดลมระบายอากาศในตู้คอนโทรลนี้ เป็นการระบายเพื่อให้อากาศหมุนเวียนให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็จะต้องมีการติดตั้งแผ่นกรองฝุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณฝุ่น และหากในสภาพแวดล้อมภายนอกตู้คอนโทรลมีฝุ่นและความร้อนมากขึ้น การติดตั้งพัดลมระบายอากาศอาจจะไม่เพียงพอต่อการระบายความร้อนให้อุปกรณ์หรือ Load ภายในตู้คอนโทรลได้
     เราจึงแนะนำวิธีที่เหมาะสมและดีที่สุดในการควบคุมฝุ่นละออง ความชื้น และรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล โดยการเลือกวิธีการติดตั้งแอร์รักษาอุณหภูมิในตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ได้มากว่าการใช้พัดลมระบายอากาศเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นการรักษาอุณหภูมิภายในตู้ให้คงที่และช่วยลดปัญหาเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น และฝุ่นละออง ทำให้ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์, PLC, Inverter ภายในตู้คอนโทรล เป็นต้น
     ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับโครงสร้างและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในระบบแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) เพื่อเข้าใจในระบบการรักษาอุณหภูมิในตู้คอนโทรล (ดังรูป)

รูปแสดงโครงการและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในแอร์ติดตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes)
 
     ทำความรู้จักกับโครงสร้างและการทำงานในส่วนต่างๆ ของแอร์ตู้คอนโทรลกันไปเรียบร้อยแล้ว เรามาดูวิธีการติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรลแบบติดตั้งด้านข้าง และ แอร์ตู้คอนโทรลแบบติดตั้งด้านบน ดังนี้
 
 

 

ลักษณะการติดตั้งสำหรับตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes)
 
     การติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรลแบบด้านข้างนี้หากมีพื้นที่ที่กำจัดหรือขนาดตู้ไม่เหมาะสมกับขนาดตัวแอร์ที่เลือกใช้งาน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการติดตั้ง เช่น การเจาะท่อส่งลมเพื่อให้มีช่องดูดลมร้อนและลมเย็นเข้าภายในตู้ (ดังรูป)
 

 
     สำหรับงานแอร์ตู้คอนโทรลที่ติดตั้งแบบภายนอกอาคาร (Outdoor) ควรมีหลังคา (Cover) เป็นอุปกรณ์เสริมเนื่องจากป้องกันน้ำเข้า (ดังรูป)

ลักษณะการติดตั้งสำหรับตู้คอนโทรลภายนอกอาคาร ( Air Conditioner for Control Boxes for Outdoor)

 

 

ลักษณะการติดตั้งสำหรับตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes)
 
     การติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรลแบบด้านบนหลังคาตู้นี้ ควรเลือกโครงสร้างภายในที่มีระบบป้องกันน้ำล้น (Daining) เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าภายในตู้คอนโทรล ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรลเสียหายได้
 
     ข้อแนะนำ : ในการเลือกการติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน โดยพิจารณาจากปัจจัยเบื้องต้น เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปรับใช้งาน (28-30 ํC) , พื้นที่สภาพแวดล้อม โหลดในตู้คอนโทรลและขนาดของตู้คอนโทรล รวมไปถึง Material ที่ผู้ใช้งานควรพิจารณาในลักษณะการใช้งานที่แตกต่าง เช่น Body Steel เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร (Indoor) และ Body Stianless เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมอาหาร, ยา และงานที่มีเคมี สารกัดกร่อน ที่ติดตั้งภายนอกอาคารได้ (Outdoor) เนื่องจากไม่ทำให้เกิดสนิม