Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน ซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น ฮีตเตอร์จุ่ม/ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี (Immersion Heater), ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater), เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater), ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater), ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater), ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater), ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) เป็นต้น แต่ละประเภทก็มีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น
     ฮีตเตอร์ (Heater) ถ้าได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม จะสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบปัญหาของฮีตเตอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติ ซึ่งปัญหาที่เกิดอาจจะเกิดขึ้นจากทั้งทางผู้ผลิตเองหรือทางผู้ใช้เองก็ตาม ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ 5 วิธีง่าย ๆ ดูแลฮีตเตอร์ที่ทำให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ที่ผู้ใช้งานสามารถทำเองได้เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

     1. การใช้งานควรใช้ตามสเปคที่กำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้ หากในชุดฮีตเตอร์มีเส้นฮีตเตอร์มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสะพานไฟของฮีตเตอร์ให้ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ (Y) เป็นเดลต้า (Δ) อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดจะทำให้ฮีตเตอร์ขาดง่าย เช่น กำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ไม่ควรเกิน 5W/CM2 เป็นต้น
     2. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ ขั้วไฟต้องแน่นอยู่เสมอและหมั่นทำความสะอาดคราบตะกรันที่ขั้วฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักจนเกินไป
     3. ควรเลือกฮีตเตอร์แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากหลักการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) นั้น เป็นการนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำหรืออากาศ จึงมีข้อควรระวัง ดังนี้
          • ใช้งานในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลา
          • ใช้งานในของเหลว ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้งขอด
          • กรณีต้องติดตั้งแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงาน ควรเลือกฮีตเตอร์ (Heater) ให้มีขนาดเหมาะสมและแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด
     โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง หากฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด
     4. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงาน เช่น หากต้องการนำฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ไปใช้กับน้ำที่มีสารเคมี ควรใช้วัสดุเกรดสแตนเลส SUS316/Titanium เป็นต้น เพราะวัสดุประเภทนี้จะทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้
     5. ดูแลรักษาตัวฮีตเตอร์ (Heater) ในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) บ่อยครั้งที่มีคราบสกปรกหรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้การถ่ายเทความร้อนที่ออกจากตัวฮีตเตอร์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้นทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานหนักขึ้นหรืออาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว, แตก ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด

     จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นแล้วทำให้ผู้ใช้งานสามารถบำรุงรักษาฮีตเตอร์ (Heater) ได้ด้วยตัวเองในเบื้องต้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮีตเตอร์ควรมีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา และควรมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนกรณีที่ฮีตเตอร์เกิดความผิดปกติ เช่น ตัวเช็คฮีตเตอร์ขาด เช็คกระแสเกิน (Heater Break Alarm) ที่สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ที่แจ้งเตือนแสงและเสียง Tower Light แบบมีเสียง (Buzzer)

Finned Heater (ฮีตเตอร์ครีบ) Cartridge Heater
(ฮีตเตอร์แท่ง)
Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ) Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK