Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันในงานอุตสาหกรรมที่มีการวัดอุณหภูมิโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง และการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง การวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรงมักจะใช้โพรบ (Prob) ของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD) หรือเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ที่ต่อร่วมกับหัววัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ เช่น หัววัดอุณหภูมิแบบสัมผัสที่พื้นผิว (Surface), หัววัดอุณหภูมิแบบจุ่ม (Immersion), หัววัดอุณหภูมิแบบเสียบ (Penetrate) เพื่อวัดอุณหภูมิของวัตถุต่าง ๆ เช่น น้ำ, น้ำมัน พื้นผิวชิ้นงานทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เรายังสามารถนำตัววัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ นี้ ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกค่าอุณหภูมิ (Recorder) เป็นต้น

     การวัดอุณหภูมิที่เราจะมาแนะนำในวันนี้ จะเป็นการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสกับชิ้นงาน (Non-Contact Thermometer) ซึ่งการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) เป็นการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรดไปยังวัตถุที่ต้องการวัด เมื่อแสงอินฟราเรดจากเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer) ยิงไปที่วัตถุนั้น ก็จะทราบค่าของอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ ได้เลย โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุนั้นโดยตรง เป็นการวัดอุณหภูมิที่พื้นผิว (Surface) ของวัตถุเท่านั้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำเครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) ซึ่งมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ แบบพกพา (Portable) และแบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation) ดังนี้
 

รูปแสดงลักษณะการนำไปประยุกต์ใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบพกพา
หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบพกพา (Infrared Thermometer)

     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบพกพา (Portable) เหมาะสำหรับลักษณะงานที่เราต้องการวัดอุณหภูมิในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นครั้งคราว เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของอุณหภูมิในบริเวณนั้น ๆ เช่น การวัดอุณหภูมิของมอเตอร์, บัสบาร์หรือขั้วต่อสายไฟในตู้คอนโทรล หากมอเตอร์, บัสบาร์หรือขั้วต่อสายไฟในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ อาจมีความผิดปกติของอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้ทราบปัญหาของอุปกรณ์ล่วงหน้า และเราสามารถทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ก่อนที่จะเกิดความเสียหายก่อนได้ ในการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสนี้ (Non-Contact Thermometer) สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการวัดเพื่อให้การวัดอุณหภูมิมีความผิดพลาดในการวัดน้อยที่สุด คือ อัตราส่วนของระยะทางต่อพื้นที่ในการวัดของชิ้นงานนั้น D : S (Distance Per Spot)  (ดังรูป)
 

     ยกตัวอย่างการคำนวณอัตราส่วนระหว่างระยะทางต่อพื้นที่ในการวัดของชิ้นงาน D : S (Distance Per Spot) ของ Infrared Thermometer รุ่น CENTER 350 ซึ่งขนาดของพื้นที่ที่ต้องการวัดอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับระยะห่างของ Thermometer กับบริเวณพื้นผิวที่ต้องการวัด ซึ่งจะมีค่าประมาณ 8 : 1 เช่น หากต้องการวัดชิ้นงานที่มีระยะห่างประมาณ 800 mm. จากพื้นผิวที่จะวัด พื้นที่ผิวที่วัดจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 mm. ในกรณีนี้ถ้าชิ้นงานหรือพื้นที่ที่เราต้องวัดมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่น้อยกว่า 100 mm. จะทำให้ผลจากการวัดค่าอุณหภูมิมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าปกติ เนื่องจากเมื่อชิ้นงานเล็กกว่าพื้นที่ที่ต้องการวัด ตัวอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ (Infrared Thermometer) จะทำการวัดทั้งพื้นผิวของชิ้นงานและพื้นผิวโดยรอบด้วยทำให้ค่าที่วัดไม่ถูกต้อง เป็นต้น
 
 
     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation) ใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบพกพา (Portable Thermometer) โดยส่วนมากแบบติดตั้งถาวรนี้จะเป็นลักษณะการวัดค่าอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง เพื่อนำผลที่ได้จากการวัดไปแสดงค่าที่หน้าจอแสดงผลของรุ่นนั้น ๆ (BA-30TA) หรือบางรุ่นต้องมีหัววัดอุณหภูมิ (BS-30TA) ต่อร่วมกับ Amplifier (BS-A) เพื่อแสดงผล เนื่องจากบางลักษณะงานที่วัดอุณหภูมิที่สูง ตัว Amplifier (BS-A) ไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงได้  เครื่องวัดอุณหภุมิแบบไม่สัมผัสนอกจากจะแสดงผลได้ที่ตัวของมันเองแล้ว เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสนี้ยังมีสัญญาณ Analog 4-20mA เพื่อไปต่อร่วมกับตัวแสดงผล (Digital Indicator) หรือตัวควบคุม (Controller) เป็นต้น
     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) มีหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมในการใช้งาน เช่น Non-Contact Thermometer Model : SA-80T-2A เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-200 ํC Output 4-20mA เป็นรุ่นที่ไม่มีหน้าจอแสดงผล และ Non-Contact Thermometer Model : BA-30TA เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย (ดังตัวอย่างต่อไปนี้)
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer Model : SA-80T-2A เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-200 ํC Output 4-20mA เป็นรุ่นที่ไม่มีหน้าจอแสดงผล

รูปแสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer รุ่น SA-80T-2A Output 4-20mA
ร่วมกับ Digital Indicator รุ่น TIM-94N โดยต่อแบบ Supply แยก รุ่น PM-024S-2.5
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer Model : BA-30TA เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย

รูปแสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer รุ่น BA-30TA วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย
 
     นอกจากนี้ในการเลือกใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) ยังเหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิในบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น พื้นที่อุณหภูมิสูง, พื้นที่เสี่ยงอันตรายจากวัตถุไวไฟหรือมีสารเคมี เป็นต้น

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK