Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เป็นฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่มีครีบสแตนเลสช่วยในการกระจายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ (Finned  Heater) เพื่อให้ความร้อนในงานอากาศที่ต้องใช้ความร้อนกับชิ้นงาน โดยใช้หลักการการนำพาความร้อน เหมาะสำหรับใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง เช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sesnor), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), โซลิตสเตทรีเลย์ (Solid State Relay) เพื่อควบคุมในระบบ
 
     ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) จะมีรูปร่าง (Shape) แบบต่าง ๆ โดยมีลักษณะติดตั้งแบบไม่มีเกลียวและลักษณะติดตั้งแบบมีเกลียว ดังนี้
 
ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว U
(U-Shape Finned Heater)
ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว I
(I-Shape Finned Heater)
ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว W
(W-Shape Finned Heater)

  
     ในการเลือกใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ควรมีหลักข้อควรระวังและการพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับงาน ดังนี้
         ข้อควรระวังฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)
             • ตรวจสอบขนาด, ขนาดวัตต์ (Watt), จำนวนของฮีตเตอร์ ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้
             • กรณีติดตั้งฮีตเตอร์ ควรเลือกพัดลมขนาดที่เหมาะกับจำนวนของฮีตเตอร์เพื่อใช้ในการนำพาความร้อนไปใช้งาน
             • ตู้อบหรือห้องอบที่ทำอุณหภูมิสูง ควรเลือกชนิดของท่อฮีตเตอร์ให้เหมาะต่อการใช้งาน
             • ไม่ควรใช้กับงานลักษณะร่วมกับของเหลว เนื่องจากจะเกิดตะกรันจับที่ครีบของฮีตเตอร์ ทำให้ความร้อนไม่สามารถถ่ายเทได้
             • กรณีที่ให้ความร้อนกับอากาศที่ไม่หมุนเวียนควรเลือกวัสดุที่ใช้ทำฮีตเตอร์เป็นอินโคลอย เนื่องจากมีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนได้ดีและทนอุุณภูมิได้สูงกว่าชนิดอื่น

     นอกจากข้อควรระวังดังกล่าวมาข้างต้น อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) คือ การคำนวณอุณหภูมิและขนาดวัตต์ (Watt) ของฮีตเตอร์ ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำสูตรและวิธีการคำนวณเพื่อเลือกใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ในหัวข้อ “การคำนวณเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับงาน”  ดังนี้
 
     วิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ตู้อบ
     ตัวอย่าง  มีตู้ขนาด กว้าง 1.5 เมตร x ลึก1 เมตร x สูง 2 เมตร ต้องการ Heater เพื่ออบแม่พิมพ์ โดยให้ทําอุณหภูมิที่ 200  ํC ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
     หลังจากที่เราทราบแล้วว่าตุ้อบนี้ต้องการพลังงาน 11.1 kW เพื่อให้ได้อุณหภูมิ 200  ํC  ภายในเวลา 1 ชั่วโมง กันไปแล้วนั้น ซึ่งขั้นตอนต่อไปเราจะมาเลือกฮีตเตอร์ (Heater) โดยในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) รุ่น FH-Series เลือกติดตั้งตามแนวลึกของตู้ เนื่องจากตู้มีความลึก 1 เมตร จะเลือกฮีตเตอร์ (Heater) ที่ความยาว 700 - 800 mm. ติดตั้ง 3 ด้าน คือ ด้านซ้าย, ด้านบนและด้านขวา จำนวนรวม 12-15 ตัว เป็นต้น

ตัวอย่างฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) รุ่น FH-Series
 
     การติดตั้งฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
        1. ติดตั้งแบบให้ความร้อนโดยตรง
        2. ติดตั้งแบบส่งผ่านความร้อนจากห้องเผาไปยังห้องอบโดยใช้ลมร้อน
 
     ลักษณะการนำฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) มาประยุกต์ใช้งาน
 
Finned Heater Element HVAC Electric Duct Heater Installation & Calculation

     • งานอบแห้ง, ไล่ความชื้น
     • ใช้สำหรับงานที่ต้องให้ความร้อนการอากาศ
     • ใช้ในท่อ Duct
     • งานเตาอบต่าง ๆ

     นอกจากฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับงานอากาศแล้ว ทางเรายังมีฮีตเตอร์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน ของเหลว หรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ในการอุ่นของเหลว อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ทางเรายังมีทีมงานวิศวกรพร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบฮีตเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อตอบสนองการใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK