Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

PE-1000 (1000 BTU) PE-2700 (2700 BTU) PEV-4000 (4000 BTU)
PE-7000 (7000 BTU) PE-13000 (13000 BTU) PE-4000 (4000 BTU)

     ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเครื่องจักรต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้า และหากไม่ได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) แล้ว จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีอายุการใช้งานที่สั้นลงและทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

     ซึ่งในหัวข้อที่ผ่านมาเราก็ได้พูดถึงวิธีการในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีต่าง ๆ กันไปแล้วนั้น เช่น วิธียืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) โดยการใช้พัดลมระบายอากาศภายในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) และการติดตั้งแอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายในตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) แอร์ตู้คอนโทรลดียังไง ทำไมต้องติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) ทำให้ทราบถึงประโยชน์ในการติดตั้ง
 
     โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ 4 ปัจจัย ในการเลือกใช้แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ให้เหมาะสมกับขนาดตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) ดังนี้
     1. ขนาดตู้หรือพื้นที่ภายในตู้คอนโทรล โดยคำนวณค่าออกมาเป็นตารางเมตร (M2) ใช้สูตร พื้นที่รวม = (2xHxW)+(2xHxD)+(DxW) *H = สูง, W = กว้าง, D = ลึก*
     2. โหลดภายในตู้ (สูตรคำนวณ)
               เช่น อินเวอร์เตอร์ (Inverter), เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply), พีแอลซี (PLC), รีเลย์ (Relay), เอสซีอาร์ (SCR), เซอร์โว (Servo) เป็นต้น
               *จากการคำนวณหา Heat Loss (KW) 10% ของโหลดทั้งหมด*
     3.  อุณหภูมิภายนอกตู้ ( ํC Out)  เป็นอุณหภูมิความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลให้การระบายความร้อนของแอร์ตู้คอนโทรลจะระบายความร้อนได้ไม่ดี จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหายได้
               จากสูตร ความร้อนที่เกิดจากขนาดตู้ (Q1) = (ค่าสัมประสิทธิ์ในการถ่ายเทความร้อน) x (พื้นที่รวม) x (ผลต่างอุณหภูมิ) *หน่วย วัตต์ (W)*
 
          อุณหภูมิภายในตู้ ( ํC In) เป็นอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้
               จากสูตร ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้ (Q2) = (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้) + ((10%) x (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้)  *หน่วย วัตต์ (W)*
    ทำให้ได้ความร้อนรวม (Qt) = (ความร้อนที่เกิดจากขนาดตู้ ((Q1) + (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้ Q2)) *หน่วย วัตต์ (W)*
 
     4. อุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลที่ต้องการ เช่น การปรับอุณหภูมิที่ต้องการภายในตู้คอนโทรลเนื่องจากต้องอ้างอิงกับสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิแวดล้อมภายนอก 45 ํC ควรปรับลดอุณหภูมิภายในตู้ 10-15 ํC หรือประมาณ 10ํC (ไม่ควรเกิน 35 ํC) ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่ออุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล เนื่องจากถ้าภายในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิสูงกว่า 35 ํC จะส่งผลให้อุปกรณ์ภายในตู้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง ส่วนถ้าภายในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 ํC จะส่งผลในเรื่องของความชื้นและอาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ผนังตู้คอนโทรลได้ในกรณีที่อุณหภูมิภายนอกกับอุณหภูมิภายในตู้แตกต่างกันเกิน 10 ํC
 
     สูตรคำนวณแอร์ CLICK
 
     แอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) โครงสร้างวัสดุทำจากเหล็กขึ้นรูปป้องกันสนิม งานอุตสาหกรรมทั่วไป

รูปแสดงลักษณะการติดตั้งแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes)
 
     แอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) โครงสร้างวัสดุทำจากสแตนเลส งานอุตสาหกรรมอาหารและยา

รูปแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) วัสดุทำจากสแตนเลส
 
     นอกจากนี้ยังมีแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ที่เหมาะสำหรับตู้ที่มีขนาดใหญ่และมีโหลดหนัก ๆ ภายในตู้ โดยติดตั้งด้านข้าง ซึ่งมีระบบทำความเย็นภายในตัวเครื่องส่งลมเย็นเข้าไปภายในตู้คอนโทรลได้ถึง 13000 BTU และสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้นและเศษสิ่งสกปรกได้อย่างดีเยี่ยม ระบบการทำงานจะเป็นระบบปิดเพื่อระบายความร้อนและความร้อนส่วนนั้นจะถูกดึงกลับเข้าสู่ช่องรับลมกลับเพื่อระบายออกสู่ภายนอก

รูปแสดงลักษณะการติดตั้งแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) แบบติดตั้งด้านข้าง
(Diamension กว้าง 508mm. / สูง 1234mm. / ลึก 368mm.)
 
     ข้อแนะนำ : ควรติดตั้ง Air Conditioner ตำแหน่งการติดตั้งตำแหน่งด้านข้างตู้คอนโทรล (Side Installation Cabinet) เพื่อช่วยลดปัญหาของการระบายน้ำทิ้ง หรือจำเป็นต้องติดตั้งตำแหน่งด้านบนตู้คอนโทรล (Top Installation Cabinet) กรณีพื้นที่สำหรับการติดตั้งไม่เพียงพอ Air Conditioner ควรมีระบบการป้องกัน เช่น มีระบบป้องกันน้ำล้น, ท่อตัน, ในท่อน้ำทิ้ง เพราะจะทำการกลั่นตัวเป็นไอน้ำในอากาศให้กลายเป็นหยดน้ำ (Condensation) เพื่อป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย (Air Conditioner แบบติดตั้งด้านบนหลังตู้ รุ่น PE-4000 มี 2 ท่อระบายน้ำทิ้ง)
     หมายเหตุ : 4 ปัจจัยในการเลือกใช้แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงปัจจัยในการพิจารณาเลือก Cooling Unit (BTU) ของแอร์ตู้คอนโทรล
PE-1000 (1000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PE-1000SUS (1000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : สแตนเลส

สั่งซื้อ คลิก
PE-2700 (2700 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PE-2700SUS (2700 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : สแตนเลส

สั่งซื้อ คลิก
PEV-4000 (4000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PEV-4000SUS (4000 BTU)
Air Condition For Control Boxes

วัสดุ : สแตนเลส
สั่งซื้อ คลิก
PE-7000 (7000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PE-7000SUS (7000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : สแตนเลส

สั่งซื้อ คลิก
PE-13000SU (13000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PE-13000SUS (13000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : สแตนเลส

สั่งซื้อ คลิก
PE-4000 (4000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : เหล็ก

สั่งซื้อ คลิก
PE-4000SUS (4000 BTU)
Air Condition For Control Boxes
วัสดุ : สแตนเลส