Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     Immersion Heater หรือ ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนหรืออุ่นต้มของเหลว (Liquid) เพื่อให้ได้อุณหภูมิตามต้องการ โดยการจุ่มลงไปในของเหลวที่ต้องการให้ความร้อน อาศัยหลักการในการถ่ายเทความร้อนสู่ของเหลวเพื่อให้เกิดความร้อน เหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่มีการต้มหรืออุ่นของเหลว เช่น งานต้มน้ำ, งานอุ่นน้ำมัน, อุ่นหรือต้มเคมีบางชนิดที่ไม่มีผลต่อวัสดุของตัวฮีตเตอร์ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น โดยฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) มีลักษณะการติดตั้งแบบหน้าแปลนยึดและติดตั้งแบบยึดเกลียว (ดังรูป)


รูปแบบลักษณะของฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม ( Immersion Heater) การติดตั้งแบบหน้าแปลนและเกลียว

     โดยปกติฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละชนิดนั้น ไม่ว่าจะเป็นฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เอง หรือฮีตเตอร์ประเภทอื่น ๆ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater), เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater), ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater), ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater), ฮีตเตอร์แผ่น (Strip  Heater), ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีอายุในการใช้งานของฮีตเตอร์แต่ละประเภท แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบปัญหาของฮีตเตอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติหรือฮีตเตอร์ขาด ซึ่งเคยได้นำเสนอกันไปแล้วในเรื่อง ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร และ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) ทุกประเภทกันไปแล้วนั้น แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ขาด หรือเกิดความเสียหาย ในหัวข้อ 5 ปัจจัยที่ทำให้ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ขาด โดยมีปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

5 ปัจจัยที่ทำให้ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ขาด
1. การคำนวณเลือกกำลังวัตต์และแรงดันให้เหมาะสมของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการเลือกระบุค่าแรงดัน (Voltage) ของ Immersion Heater ที่ไม่ถูกต้องกับแรงดันในการไปต่อใช้งานจะทำให้ฮีตเตอร์ขาดได้ เช่น ระบุแรงดัน 220V แล้วนำไปต่อใช้งานด้วยแรงดัน 380V ลวดฮีตเตอร์ภายในจะไม่สามารถทนได้และขาดในที่สุด ส่วนในการเลือกกำลังวัตต์ (Watt) ของ Immersion Heater จำเป็นจะต้องสอดคล้องและเพียงพอกับค่ากำลังวัตต์ที่จะทำให้ของเหลวนั้น ๆ ทำอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ โดยสามารถคำนวณเพื่อเลือกขนาดกำลังวัตต์ของ Immersion Heater ได้ตามหัวข้อสูตรวิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ต้มน้ำและน้ำมัน หรือปรึกษาทางทีมงานให้ช่วยแนะนำได้
2. การเลือกวัสดุของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ให้เหมาะสม                                                  • เนื่องจาก Immersion Heater เป็นฮีตเตอร์ที่ถูกนำไปใช้งานให้ความร้อนกับของเหลว ทั้งน้ำเปล่า รวมถึงน้ำที่มีสารเคมี ดังนั้นการเลือกวัสดุท่อของ Immersion Heater จึงสำคัญมาก ในกรณีที่ใช้กับของเหลวที่มีสารเคมีผสมอยู่ หากเลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้จะทำให้อายุการใช้งานน้อยลงและเสียหายได้เร็วขึ้น เช่น ให้ความร้อนกับน้ำทั่วไปก็สามารถเลือกใช้วัสดุท่อเป็นสแตนเลส SUS304 หรือของเหลวที่มีส่วนผสมของสารเคมีก็ควรเลือกวัสดุท่อเป็นสแตนเลส SUS316 หรือ Incoloy 840 เป็นต้น
3. การกำหนดระยะ Cool Zone และ Heat Zone ให้เหมาะสม                                               • ระยะ Cool Zone คือ ตำแหน่งของท่อฮีตเตอร์ที่จะไม่มีความร้อน โดยระยะ Standard ของ Immersion Heater จะอยู่ที่ 50mm. จากใต้การติดตั้ง (เกลียว,หน้าแปลน) ส่วนระยะ Heat Zone คือ ตำแหน่งของท่อฮีตเตอร์ที่ทำความร้อนให้กับของเหลว
4. การติดตั้ง Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการติดตั้ง Immersion Heater สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวตั้ง (ติดตั้งจากปากถัง, ขอบบ่อ) และแนวนอน (ติดตั้งโดยการเจาะข้างถัง) สืบเนื่องจากข้อ 3 ในการติดตั้ง Immersion Heater ระยะ Heat Zone ควรจะต้องไม่ให้โผล่พ้นมาจากระดับของของเหลว (ในกรณีที่ติดตั้ง Immersion Heater แนวตั้ง) เพื่อไม่ให้ Immersion Heater เกิดอาการเผาตัวเองและเสียหายในที่สุด
5. คราบตะกรันที่ติดที่ท่อของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการใช้งาน Immersion Heater ต้มน้ำ ให้ความร้อนกับสารเคมีหรืออุ่นน้ำมัน เป็นเวลาระยะหนึ่ง ย่อมเกิดตะกรันของของเหลวนั้น ๆ มาเกาะบริเวณท่อของฮีตเตอร์ ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้ตะกรันเหล่านั้นเกาะแน่นจนมีความร้อนสะสมมากที่จุดนั้น ทำให้ฮีตเตอร์ถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี ทำให้ตัวฮีตเตอร์ทำงานหนักขึ้นและเสียหายได้ เช่น มีรอยร้าวและแตกบริเวณท่อฮีตเตอร์ เป็นต้น


     Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) สามารถผลิตได้หลายรูปแบบ ทั้ง 1U, 2U, 3U, 6U, 9U, 12U เกลียวติดตั้งขนาด 1.5 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2.5 นิ้ว และ 3นิ้ว ขนาดหน้าแปลน JIS, DIN ขนาด 1 นิ้ว, 1.5 นิ้ว, 2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 4 นิ้ว และ 5 นิ้ว ต่าง ๆ ตามต้องการ และท่อฮีตเตอร์ผลิตจากสแตนเลส 304, 316, ทองแดงและอินโคลอย 84

ตารางความสัมพันธ์ระหว่างหน้าแปลนกับขนาดท่อและจำนวน Element

ตารางความสัมพันธ์ระหว่างเกลียวกับขนาดท่อและจำนวน Element

ประโยชน์ในการใช้งาน Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม)
     Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ใช้ในการให้ความร้อนกับของเหลวโดยการต้มหรืออุ่น ที่ใช้ได้กับน้ำ น้ำมัน อุ่นกาว ยางมะตอย เคมีบางชนิด ที่ไม่มีผลต่อวัสดุของตัว ฮีตเตอร์ใช้ได้กับทั้งขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและอื่นๆ เช่น ติดตั้งใน Water Barth เครื่องนึ่งหรือเครื่องอุ่นอาหาร เป็นต้น

     ข้อควรระวัง : Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ควรติดตั้งฮีตเตอร์ทางด้านล่างของถัง เพื่อการถ่ายเทความร้อนที่ดี รักษาระดับความสูงของของเหลวให้อยู่เหนือระดับของฮีตเตอร์ตลอดเวลา ป้องกันการไหม้หรือขาดของฮีตเตอร์ ทำความสะอาดฮีตเตอร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดตะกรันหรือสิ่งสกปรกที่เกาะติดตัวฮีตเตอร์ เลือกชนิดของท่อฮีตเตอร์ให้เหมาะสมกับของเหลวที่ต้องการให้ความร้อน

     นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถบำรุงรักษาฮีตเตอร์ (Heater) ทุกประเภทด้วยตัวเองได้ในเบื้องต้น เพื่อยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮีตเตอร์ ควรมีอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ Temperature Controller หรือ Thermostat เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา และควรมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนกรณีที่ฮีตเตอร์เกิดความผิดปกติ เช่น ตัวเช็คฮีตเตอร์ขาด/เช็คกระแสเกิน (Heater Break Alarm) ที่สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ที่แจ้งเตือนแสงและเสียง (Tower Light) แบบมีเสียง (Buzzer) หรือ ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) เป็นต้น

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม)

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK