Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนกับชิ้นงาน, ต้มน้ำ หรือของเหลวในงานอุตสาหกรรม โดยปกติของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละชนิดจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากผู้ใช้งานไม่มีได้มีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีและตามกำหนดระยะเวลา หรือใช้งานตามกำลังที่ไม่เหมาะสมกับฮีตเตอร์ประเภทนั้น ๆ จะทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ โดยเราได้มีการแนะนำไว้ในหัวข้อ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ซึ่งกว่าที่จะทราบสาเหตุนั้นอาจทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ก็เป็นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้า หรือ Line การผลิต และเสียเวลาในการปฏิบัติงาน
 
     ดังนั้นหากว่าเราทราบสาเหตุได้รวดเร็วและทันเวลาเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฮีตเตอร์ (Heater) นั้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเบื้องต้นผู้ใช้งานสามารถทำได้เองง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
     1. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้มิเตอร์วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistance) แนะนำ Multimeter รุ่น CENTER110 โดยการวัดค่าหน่วยโอห์ม (Ohm) กรณีฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น และกรณีฮีตเตอร์ใช้งานได้ปกติค่าโอห์ม (Ohm) จะขึ้น ตามสูตรการหาค่ากำลังไฟฟ้า P=I2R หรือ P=E2/R
     2. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้ Temperature Controller รุ่นที่มีฟังก์ชั่น CT Input ใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง ซึ่งได้อธิบายไว้ในหัวข้อ วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด ทำอย่างไรได้บ้าง?
 
     อีกหนึ่งวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ซึ่งในวันนี้เราจะมาเจาะลึกวิธีนี้กันในหัวข้อ "ทราบปัญหาเร็วและลดความเสียหายด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)" ซึ่งวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) นี้ เป็นวิธีการเช็คกระแสของฮีตเตอร์โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ที่รวดเร็วทันเวลา ง่ายต่อการแก้ไขได้ทันท่วงที โดยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) มีรุ่นต่าง ๆ ดังนี้
 
อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด
(Heater Break Alarm)
รุ่น CM-005N
เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์
(Digital Monitor For Heater Break Alarm)
รุ่น CM-005D
เครื่องเช็คฮีตเตอร์ขาด
(Heater Break Alarm)
รุ่น CM-005
     วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) CM-005N
     การทำงานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแสสูงสุด 50A ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด และแจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาด หรือในกรณีที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน แต่มีกระแสไหลผ่านฮีตเตอร์ (Heater) ตลอดเวลา อันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติเช่นกัน เป็นต้น
 
     ทางผู้ใช้งานสามารถนำอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อทำให้ความสะดวกรวดเร็วในการแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดได้ โดยวิธีต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) CM-005N ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ (ดังรูป)
 
     รูปที่ 1 : การต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D โดยจะสามารถทราบกระแสของฮีตเตอร์แต่ละตัว (สูงสุด 8 ตัว) ได้จากหน้าจอ CM-005D ที่ติดตั้งไว้บริเวณหน้าตู้คอนโทรลได้ พร้อมทั้งนำ Alarm Output ของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ต่อร่วมกับ Warning Light (TLW-01/02) เพื่อแจ้งเตือนด้วยสัญญาณไฟ ทำให้ช่าง/วิศวกรทราบได้ทันทีว่าฮีตเตอร์ในเครื่องจักรขาดหรือ Short Circuit

การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ต่อร่วมกับ Warning Light (TLW-01/02)
เพื่อแสดงสถานะฮีตเตอร์ (Heater) เมื่อขาด หรือ Short Circuit
 
     รูปที่ 2 : การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดย Software Prisoft, Scada สื่อสารกับ Computer เชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) RS485/RS232 To TCP/IP รุ่น RM-012-IP โดยสามารถอ่านข้อมูลและบันทึกค่า Parameter ต่าง ๆ ที่วัดได้ แบบ Real time ด้วยระบบ MODBUS RTU RS-485

การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ Computer
ผ่าน Software Prisoft, Scada ภายในห้องช่าง เพิ่มความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและแจ้งเตือน Alarm
 
     รูปที่ 3 : การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ร่วมกับ PLC (Unistream Programmable) UNITRONICS โดยเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) RS485/RS232 To TCP/IP รุ่น RM-012-IP

การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ PLC (Unistream Programmable) UNITRONICS
 
     เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) เพื่อเช็คสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วย Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เช่น Thermocouple, Pt100 เป็นต้น
 
       1. ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)
       2. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน
       3. ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกันทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย
       4. Monitor และ Record ข้อมูลผ่าน MODBUS RTU RS-485 ได้
       5. อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) โดยสามารถติดตั้งยึดกับราง Din Rail ได้เลย
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)
 
ติดตั้งอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ภายในตู้คอนโทรล คู่กับเครื่องจักรอาหารสัตว์ (Feed mill)
ในการรักษาอุณหภูมิของวัตถุดิบ เนื่องจากภายในเครื่องจักรติดตั้งฮีตเตอร์ (Heater) เป็นจำนวนมาก
เครื่องฉีดพลาสติก ห้องอบสี
 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK