Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องติดตั้งแอร์สำหรับรักษาอุณหภูมิในตู้คอนโทรล?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK PE-1000 (1000 BTU) PE-2700 (2700 BTU) PEV-4000 (4000 BTU) PE-7000 (7000 BTU) PE-13000 (13000 BTU) PE-4000 (4000 BTU)      เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรามีอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากผลกระทบต่าง ๆ อาทิ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก, การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น      ซึ่งผลกระทบของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หามาตรการนำเครื่องมือมาช่วยรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล เพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในตู้และเครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพและยาวนานขึ้น      ดังนั้น แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล Model : PE-Series ยี่ห้อ PM จึงเป็นทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร โดย PE-Series มีขนาด BTU ให้เลือกตั้งแต่ 1000BTU, 2700BTU, 4000BTU, 7000BTU และ 13000BTU โครงสร้างถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมอาหาร (โครงสร้าง Stainless SUS) และโครงสร้างมาตรฐาน (เหล็กขึ้นรูปป้องกันสนิม) มีระบบป้องกันน้ำล้น, ท่อต้นและคอมเพรสเซอร์เสียหาย อีกทั้งสามารถเลือกลักษณะการติดตั้งแบบติดตั้งด้านข้างตู้และบนหลังคาตู้      ซึ่งการระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรลด้วยวิธีนี้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับการระบายความร้อนในรูปแบบอื่น ๆ เพราะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนและสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้นและเศษสิ่งสกปรกได้อย่างดีเยี่ยม ระบบการทำงานจะเป็นระบบปิด โดยจะมีระบบทำความเย็นภายในตัวเครื่องส่งลมเย็นเข้าไปภายในตู้คอนโทรลเพื่อระบายความร้อน และความร้อนส่วนนั้นจะถูกดึงกลับเข้าสู่ช่องรับลมกลับเพื่อระบายออกสู่ภายนอก PE-1000 (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-1000SUS (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-2700 (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-2700SUS (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PEV-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PEV-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-7000 (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-7000SUS (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-13000SU (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-13000SUS (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เรามาทำความรู้จักการ Check Heater ขาดแบบง่ายๆกัน

วิธีการ Check Heater ขาด          วิธีการ Check Heater ขาด ด้วยเครื่อง Check Heater ขาด หลายท่านสงสัยว่าจำเป็นด้วยหรอที่ต้องใช้ตัว Check Heater ขาดนี้? ผมบอกเลยว่าจำเป็นครับ เพราะ   1. กรณีที่คุณใช้งานฮีตเตอร์จำนวนหลายๆ ตัว เพื่อให้ความร้อนกับชิ้นงาน และมีฮีตเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งขาด คุณจะไม่สามารถทราบเลยว่ามีฮีตเตอร์ขาดเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากอุณหภูมิที่ได้นั้นยังมีค่าเท่าเดิม แต่ผลลัพธ์คือ การทำงานของฮีตเตอร์ตัวที่ใช้ได้มีการทำงานหนักขึ้น ซึ่งส่งผลให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์สั้นลง 2. ง่ายต่อการ Maintenance เพราะเครื่อง Check Heater ขาด ของเรามี LED แจ้งสถานะการขาดของ Heater ทำให้ช่างทำการซ่อมหรือเปลี่ยนฮีตเตอร์ได้ทันที สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม CM-005D:Digital Monitor For Heater Break Alarm http://primusthai.com/primus/product?productID=95 CM-005N:Heater Break Alarm http://primusthai.com/primus/product?productID=94  

Image Alternative text
Pump Control ใช้ง่าย ลดการ wiring สายในตู้คอนโทรล

สวัสดีครับ   วันนี้ผมจะมานำเสนอ อุปกรณ์ที่จะทำให้ท่านสะดวกและง่ายในการที่จะต้องควบคุมปั๊มน้ำโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการต่อวงจรควบคุมทางไฟฟ้าก็ สามารถใช้ Pump Control หรือ ตัวควบคุมปั๊มน้ำได้ นอกเสียจากจะควบคุมปั๊มน้ำได้แล้วตัวนี้ยังมีตัวอุปกรณ์ตัว Level Control และ ตัว Phase Protection ในตัวไม่ต้องต่อวงจรไฟฟ้าให้ยุ่งยากอีกต่อไป โดย เรามี อยู่ 2 รุ่น ด้วยกัน คือแบบ Single Pump ใช้ควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว และ Twin Pump ใช้ควบคุมปั้มน้ำ 2ตัว ใน กรณีที่ปั๊มตัวใดตัวหนึ่งทำงานอยู่แต่ปริมาณน้ำที่ใช้ยังเพียงอยู่จะสลับการทำงานกัน แต่ เมื่อใดที่ปริมาณการใช้น้ำเยอะ จนถึงระดับล่างต่ำให้ปั้มทำงานพร้อมกัน 2 ตัว ในกรณีทีน้ำแห้งให้มี Alarm สำหรับป้องกัน ปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ  http://www.primusthai.com/search?q%5Bsearch%5D=pump สุวพากย์ ชาติสุทธิ Sales Special Phone : 090-197-9594 Specification : Power Meter, E-mail : suwaphak@primusthai.com Line ID : suwaphak

Image Alternative text
PMV-115N Cabinet Filter Fan

PMV-115N Cabinet Filter Fan เ ป็ น พัดลมขนาด 115x115 mm ระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า         PMV-115N มีท้งัรุ่นดูดลมเข้าและเป่าลมออก โดยถูกออกแบบให้หน้ากากที่มีรูปทรงที่สวยงามและบาง ทำให้ติดต้ังแนบเรียบไปกับผิวหน้าตู้ และในการ ติดต้งัสามารถติดต้งัไดง้่าย , รวดเร็วแข็งแรงด้วย Clips-Lock การออกแบบอย่างเหมาะสม โดยใช้เน้ือ พลาสติกที่มีความยืดหยุ่น ไม่ใช้เน้ือเดียวกันกับ Case ของพดัลม ซ่ึงแข็งไม่เหมาะกบัการยึดเกาะ ทา ให้ พดัลมไม่สั่นขณะทา งาน ในการเปลี่ยนแผน่ กรองฝ่นุ PMV-115N สามารถทา ไดง้่ายดว้ยการออกแบบของFlap-Open โดยเพียงดึงหนา้กากออกเพื่อเปลี่ยนแผน่ กรองฝุ่นและดันหน้ากากเข้ากลับที่เดิม PMV-115N มีข้วัต่อไฟแบบ Spring Terminals ทำให้ การ Wiring สายเป็นไปไดง้่ายและรวดเร็ว โดยปกติลกัษณะการถ่ายเทความร้อน อากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวจาก ดา้นล่างข้ึนดา้นบนดงัน้นั พลัม Cabinet Filter Fan ควรจะติดต้งับริเวณดา้นบนของตูโดยจะมีหน้ากาก พร้อมแผ่นกรองฝ่นุ ติดตวัอยบู่ ริเวณดา้นล่าง เพื่อเป็นช่องทางใหอ้ากาศจากภายนอกเขา้มาภายในตู้

Image Alternative text
INDUSTRY 4.0 The Next Industrial Revolution

  INDUSTRY 4.0 The Next Industrial Revolution          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการอุตสาหกรรมกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง นับตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของ เครื่องจักรไอน้ำในศตวรรษที่ 18 ที่โลกได้รู้จักคำว่าอุตสาหกรรม มาจนถึงปัจจุบันที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับการ พัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ เมื่อมีการบูรณาการเทคโนโลยี และองค์ความรู้สาขา ต่างๆ มาต่อยอดให้กับอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ INDUSTRY 4.0 จึงเป็น ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ จะพลิกโฉมหน้าการผลิตไปมากน้อยอย่างไร             เครื่องจักรกลที่ “คิดเป็นและสื่อสารได้” การกำเนิด ขึ้นของ 3D Printing ที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการ ให้เป็นวัตถุของจริงที่จับต้องได้ทำงานได้ หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์เหมือนเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร และระหว่างเครื่องจักรด้วยกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด เทคโนโลยีที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้จะทำให้ระบบการ ผลิตเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อประสิทธิภาพ ของการผลิต และการตอบสนองความต้องการที่ หลากหลายของผู้บริโภค     การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมา           การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อมีการ สร้างเครื่องจักรไอน้ำในปี คศ. 1784 มันถูกนำมาใช้ทดแทนพลังงาน ที่ได้จากธรรมชาติในการผลิต รวมทั้งเกิดการสร้างรถไฟซึ่งทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่ง กระตุ้นการบริโภคสินค้า อุตสาหกรรมและนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในปลาย ของศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการพัฒนาเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และ เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตมาเป็นระบบโรงงาน ทำให้เกิดการผลิต สินค้าครั้งละมากๆ และมีคุณภาพที่ทัดเทียมกับงานหัตถกรรม ที่สำคัญ คือสินค้าเหล่านี้มีราคาไม่แพง ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้า อุตสาหกรรมได้ จนเกิดเป็นกระแสบริโภคนิยมที่แพร่ในทุกภูมิภาค ของโลก            การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 เมื่อการพัฒนาด้านอิเลคทรอนิคส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตและระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ การพัฒนาเครื่องจักรให้มี ความสามารถในด้านความเร็วและความละเอียดแม่นยำ รวมถึงการ นำเอาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิต ระบบ การผลิตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 3.0 เน้นการผลิตแบบ mass production เพื่อตอบสนองการบริโภคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่า ในแต่ละหน่วยของระบบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ระบบ อัตโนมัติ หรือซอฟท์แวร์การผลิต จะได้รับการพัฒนาให้มีความ ก้าวหน้าแต่ระบบทั้งหมดนี้ยังต้องได้รับการบริหารจัดการจากหน่วย ควบคุมกลาง เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบรวมศูนย์ หรือ centralization แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0            การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการบูรณาการ โลกของการผลิต เข้ากับการเชื่อมต่อทางเครื่อข่ายในรูปแบบ “Internet of Things (IoT)” ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่ ตัววัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อการจัดการกระบวน การผลิตทั้งหมด ปัจจัยและเงื่อนไขที่จะทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็นไปได้คือ CPS (Cyber-Physical System) ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่จะผสมผสานโลกดิจิตอลเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง และ Cyber-Physical Production Systems (CPPS) ซึ่งเป็น ระบบที่จะประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โรงงานอัจฉริยะ ระบบโลจิสติกส์ และ ลูกค้าสามารถติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ     จุดเด่นของอุตสาหกรรม 4.0              เช่น โปรแกรมด้านการออกแบบ CAD ระบบการบริหารการจัดการ ERP/MRP ทำให้การสื่อสารเกือบทั้งหมดไม่ต้องผ่านตัวกลาง (Media) จึงเกิดความรวดเร็วทั่วถึง ที่สำคัญคือลดความผิดพลาดได้เกือบ 100% ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการออกแบบผลิตภัณฑ์ CAD จากบริษัท ผู้ว่าจ้างจะสามารถสื่อสารไปยังหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของ ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม CNC สำหรับ เครื่องจักรกลการผลิต การทำโปรแกรมเครื่องวัด CMM การตรวจสอบ คุณภาพชิ้นงาน การออกแบบระบบการจับยึด (Jig & Fixture) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การคำนวนต้นทุนขนส่งด้านโลจิสติกส์ กระบวนการเหล่านี้สามารถทำได้ในทันที เพิ่มความรวดเร็วและลด ความผิดพลาดในการทำงานเนื่องจากแชร์ข้อมูลเดียวกัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่นี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลง จากระบบเดิมที่ควบคุมโดยส่วนกลาง Centralized มาเป็นระบบ Decentralized ที่แต่ละหน่วยของระบบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ มีความสามารถในการรับรู้ (Recognition) การวิเคราะห์ (Diagnosis) การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimizations) และการกำหนดรูปแบบ (Configuration) ด้วยตัวเอง    

Image Alternative text
การพัฒนาของระบบสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless LAN)

มาดูการพัฒนาของระบบการสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless LAN)ในปัจจุบันกัน           ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu          ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย          ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์   ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย            mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล               installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง                installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที              reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง             scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย Peer-to-peer ( ad hoc mode )           รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่   Client/server (Infrastructure mode)            ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น Multiple access points and roaming            โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง Use of an Extension Point            กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ The Use of Directional Antennas          ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาใช้ในปัจจุบัน Wireless Transmitter: PWT-Series             อุปกรณ์แปลงสัญญาณจากอุณหภูมิ, ความต้านทาน, แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า หรือความถี่ให้เป็นสัญญาณไร้สาย เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการติดตั้งแบบที่ใช้สายยุ่งยาก หลักการทำงาน: โดย Wireless Master ทำหน้าที่สื่อสารสัญญาณแบบไร้สายกับ Wireless End Device ได้ระยะไกลถึง 400 เมตร และมี Wireless Repeater ทำหน้าที่ขยายสัญญาณในกรณีที่บริเวณนั้นเป็นที่อับสัญญาณ บริษัท ไพรมัส จำกัด www.primusthai.com

Image Alternative text
การต่อลงดิน

การต่อลงดิน การเลือกขนาดสาย วิธีติดตั้ง และความต้านทานระหว่างหลักดินกับดิน 4.1 วงจรและระบบไฟฟ้ากระแสที่ต่อลงดิน วงรจและระบบไฟฟ้ากระแสสลับตามที่กำหนดไว้ข้อ 4.1.1ถึง 4.1.2 ต้องต่อลงดินส่วนวงจรและระบบอื่นนอกจากนี้ จาจต่อลงดินก็ได้ � 4.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50 โวลต์ แต่ไม่ถึง 1,000โวลต์ ต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ��� 4.1.1.1 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และนำตัวนิวทรัลเป็นสายวงจรด้วย ��� 4.1.1.2 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และจุดกึ่งกลางของเฟสใดเฟสหนึ่งใช้เป็นสายวงจรด้วย ��� 4.1.1.3 เป็นระบบ 3 เฟส 3 สาย ��� 4.1.1.4 เป็นระบบ 1 เฟส 3 สาย หรือ 1 เฟส 2 สาย � 4.1.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 โวลต์ ขึ้นไป ถ้าจ่ายไฟให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดเครื่อนไหวที่จะได้ต้องต่อลงดิน แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าอื่นๆอนุญาตให้ต่อลงดินได้แต่ต้องไม่ขัดกับ ข้อกำหนดข้ออื่นๆ ยกเว้น� ระบบที่มีตัวจ่ายไฟแยกต่างหาก(Separately Derived Systems)โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่รับพลังงานจากเครื่องกำหนดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า คอนเวอร์เตอร์ที่มีขดลวดซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อจ่ายไฟให้ระบบไฟฟ้าพิเศษและ ไม่มีการต่อทางไฟฟ้ากับวงจรระบบอื่น ไม่บังคับให้ต่อลงดิน หากต้องการต่อลงดินตามข้อ 4.1.1 ข้างต้นจะต้องปฏิบัติตาม ข้อ 4.6 ด้วย 4.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่ห้ามต่อลงดิน �4.2.1 วงจรของปั้นจั่นที่ใช้งานอยู่เหนือวัสดุเส้นใยที่อาจลุกไหม้ได้ ซึ่งอยู่ในบริเวณอันตราย �4.2.2 วงจรที่กำหนดให้ใช้สำหรับสิ่งที่อำนวจความสะดวกเพื่อรักษาสุขภาพ 4.3 การต่อลงดินของระบบประธาน � 4.3.1 ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยต้องต่อลงดินตาทข้อ 4.1 จะต้องต่อลงดินที่บริภัณฑ์ประธานแต่ละชุด จุดต่อลงดินต้องอยู่ในจุดที่เข้าถึงสะดวกที่ปลายตัวนำประธาน หรือบัสหรือขั้วต่อที่ต่อเข้ากับตัวนำนิวทรัลของตัวนำประธานภายในบริภัณฑ์ ประธาน ในกรณีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องต่อลงดินเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 จุด ทางด้านไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า ณ จุดที่ติดตั้งหม้อแปลงหรือจุดอื่นท่ี่แหมาะสม ห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นๆ อีกทางด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธาน ข้อยกเว้นที่1 ถ้าอาคารนั้นรับไฟจากตัวนำประธานมากกว่า 1 ชุดซึ่งอยู่ภายในสิ่งห่อหุ้มเดียวกัน หรือติดตั้งแยกคนละสิ่งห่อหุ้มแต่อยู่ติดกันและต่อถึงกันทางด้านไฟออก ที่จุดต่อถึงกันนี้สามารถต่อตัวนิวทรัลหรือสายที่มีการต่อลงดินของตัวนำ ประธานลงหลักเพียงชุดเดียวก็ได้ ข้อยกเว้นที่2 .ในกรณีที่มีการต่อฝาก ระหว่างบัสบาร์นิวทรัลกับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้่ที่บริภัณฑ์ประธาน ตามข้อ 4.15.6 สามารถต่อสายต่อหลักดินเข้ากับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีต่อฝาก นั้นได้ � 4.3.2 ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์ที่่มีการต่อลงดินที่จุดใดๆ จะต้องเดินสายที่มีการต่อลงดินนัน้นไปยังบริภัณฑ์ประธานทุกชุดและต่อต่อฝาก เข้ากับสิ่งห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน สายดังกล่าวจะต้องเดิมร่วมไปกับสายเส้นไฟด้วย 4.4 การต่อลงดินของวงจรที่มีบริภัณฑ์ประธานชุดเดียวจ่ายไฟให้อาคาร 2 หลัง หรือมากกว่า � 4.4.1 แต่ละอาคารต้องมีหลักดินเพื่อต่อสายที่มีการต่อลงดินของวงจรและระบบไฟฟ้ากระแสสลับและเครื่องห่อหุ้มของเครื่องปลดวงจรลงดิน � 4.4.2 อนุญาติให้ไม่ต้องทำหลักดินของแต่ละอาคารตามข้อ 4.4.1 ก็ได้ถ้ามีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ �� 4.4.2.1 ในอาคารมีวงจรย่อยชุดเดียวและไม่ได้จ่ายไฟให้แก่บริภัณฑ์ที่ต้องต่อลงดิน �� 4.4.2.2 มีการ เดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกับตัวนำอื่นวงจร เพื่อไปต่อส่วนที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าระบบท่อโลหะ ภายในและโครงสร้างของอาคารที่ต้องการลงดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้นจะต้อง มีการต่อฝาลงดินที่อาคารอีกหลังหนึ่ง 4.5 ตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ � สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ภายในอาคาร สายตัวนำของระบบต้องมีการต่อลงดินตัวนำที่มีการต่อลงดินต้องทำตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ �4.5.1 ระบบ 1 เฟส 2 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน �4.5.2 ระบบ 1 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน �4.5.3 ระบบ 3 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำเส้นใดเส้นหนึ่งต่อลงดิน �4.5.4 ระบบ 3 เฟส 4 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน 4.6 การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก � ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ �4.6.1 ต้องใช้สายต่อฝากลงดิน (ที่มีขนาดตามข้อ 4.15.6.3 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก) เชื่อมต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า(ของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก)เข้ากับ สายตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า การต่อฝากให้ทำที่จุดใดก็ได้ระหว่างระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากกับเครื่อง ป้องกันกระแสเกินตัวแรกเท่านั้น �4.6.2 สายต่อหลักดินที่เชื่อมต่อหลักดินเข้ากับสายตัวนำที่มีการต่อสายลงดินของ ระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากให้ใช้ขนาดตามข้อ 4.19 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก �4.6.3 หลักดินเป็นไปตามข้อ 2.4 และต้องอยู่ใกล้จุดต่อลงดินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 4.7 การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธาน ����� เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธานต้องต่อลงดิน 4.8 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายตัวนำ ต้องต่อลงดิน � ข้อยกเว้นที่1 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะสั้นๆซึ่งป้องกันความเสียหายทางกายภาพที่มีการต่อ สายเคเบิลหรือใช้จับยึดสาย ไม่บังคับให้ต่อลงดิน � ข้อยกเว้นที่2 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายที่ต่อจากการติดตั้งเดิมที่เป็นการเดินสาย แบบเปิดเดินสายบนตุ้มหรือใช้สายที่มีเปลือกนอกไม่เป็นโลหะไม่จำเป็นต้องต่อ ลงดินถ้าระยะเดินสายที่เพิ่มมีความยาวไม่เกิน 8 เมตรไม่สัมผัสกับดินหรือโลหะที่ต่อลงดิน หรือวัสดุที่เป็นตัวนำ และมีการป้องกันไม่ให้บุคคลสัมผัส 4.9 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ����� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ส่วนที่เป็นโลหะที่เปิดโล่งและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าดังกล่าวต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ �4.9.1 ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตรในแนวดิ่ง หรือ1.5เมตรในแนวระดับ และบุคคลอาจสำผัสโดยบังเอิญ �4.9.2 อยู่ในสถานที่เปียกหรือชื้นและไม่ได้แยกอยู่ต่างหาก �4.9.3 มีการสัมผัสไฟฟ้ากับโลหะ �4.9.4 อยู่ในบริเวณอันตราย �4.9.5 รับไฟฟ้าจากสายชนิดหุ้มส่วนนำกระแสไฟฟ้าด้วยโลหะ (Metal-Clad,Metal-Sheath) หรือสายที่เดินในท่อสายโลหะเว้นแต่ที่ได้ยกเว้นในข้อ4.8 4.10 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน ������� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องต่อลงดิน � 4.10.1 โครงของแผงสวิตช์ � 4.10.2 โครงของมอเตอร์ชนิดติดกับที่ � 4.10.3 กล่องของเครื่องควบคุมมอเตอร์ ยกเว้นฝาครอบสวิตช์ ปิด-เปิดที่มีฉนวนรองด้านใน � 4.10.4 บริภัณฑ์ไฟฟ้าของลิฟล์ปั้นจั่น � 4.10.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าในอู่จอดรถ โรงมหรสพ โรงถ่ายภาพยนตร์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ������������ ยกเว้น โคมไฟแบบแขวน 4.11 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ซึ่งได้รับกระแสโดยตรง ����� บริภัณฑ์ซึ่งไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ต่อไปนี้ต้องลงดิน � 4.11.1 โครงและร่างของปั้นจั่นที่ใช้ไฟฟ้า � 4.11.2 โครงของผู้โดยสารลิฟต์ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแต่มีสายไฟฟ้าติดอยู่ � 4.11.3 ลวดสลิงซึ่งใช้ยกของด้วยแรงคนและลวดสลิงของลิฟต์ที่ใช้ไฟฟ้า � 4.11.4 สิ่งกั้นที่เป็นโลหะ รั้ว หรือสิ่งห่หุ้มของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเส้นไฟเกิน 1,000 โวลต์ 4.12 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ���� บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะต้องต่อลงดินถ้ามีสภาพตามข้อใด ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ � 4.12.1 ใช้ในบริเวณอันตราย � 4.12.2 ใช้แรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินเกิน 150 โวลต์ ������������� ข้อยกเว้นที่ 1 มอเตอร์ที่มีการกั้น ������������� ข้อยกเว้นที่ 2 โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าทางความร้อน ซึ่งมีฉนวนกั้นระหว่างโครงโลหะกับดินอย่างถาวร ������������� ข้อยกเว้นที่ 3 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน � 4.12.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในสถานที่อยู่อาศัยต่อไปนี้ ������������ 4.12.3.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ ������������ 4.12.3.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา ������������ 4.12.3.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ (Hand-Held Motro-Operated Tools) ������������ 4.12.3.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ ������������ 4.12.3.5 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ������������ ยกเว้น บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน �4.12.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ในสถานที่อยู่อาศัย ต่อไปนี้ ����������� 4.12.4.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ ����������� 4.12.4.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา ����������� 4.12.4.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ ����������� 4.12.4.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ ����������� 4.12.4.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบใช้ในสถานที่เปียกหรือชื่น หรือบุคคลอื่นที่ใช้ยืนอยู่บนพื้นดินหรือพื้นโลหะ หรือทำงานอยู่ในถังโลหะหรือหม้อน้ำ ����������� 4.12.4.6 เครื่องมือที่อาจนำไปใช้ในที่เปียก หรือ ใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้ ����������� 4.12.4.7 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ����������� ขอยกเว้นที่1 เครื่องมือและวัดโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ที่อาจนำไปใช้ในที่เปียกหรือใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้ ไม่บังคับให้ต่อลงดินถ้ารับพลังไฟฟ้าจากหม้อแปลงนิรภัยที่ขดลวดด้านไฟออกมี แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ และไม่ต่อลงดิน ����������� ขอยกเว้นที่2 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่าหรือมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน 4.13 ระยะห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้า ������� ท่อสาย เครื่องห่อหุ้ม โครงโลหะ และส่วนโลหะอื่นของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าต้องมีระยะ ห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้าไม่น้อย 1.80 เมตร หรือต้องต่อฝากเข้ากับตัวนำระบบล่อฟ้า 4.14 วิธีต่อลงดิน ������� 4.14.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากโดยเฉพาะ ต้องปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.6.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานต้องปฏิบัติดังนี้ ������������������ 4.14.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับตัวนำประธานที่มีการต่อลงดินและสาย ต่อหลักดิน ��������������������������������� ยกเว้น กรณีต่อลงดินของห้องชุดในอาคารชุดให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทที่ 9 ������������������ 4.14.1.2 ระบบไฟฟ้าที่ไม่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับสายต่อหลักดิน ������� 4.14.2� ทางเดินสู่ดินที่ใช้ได้ผลดี �������������������� ทางเดินสู่ดินจากวงจร บริภัณฑ์ไฟฟ้า และเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ ต้องมีดังนี้ �������������������� ลักษณะดังนี้ �������������������� 4.14.2.1 เป็นชนิดติดตั้งถาวรและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า �������������������� 4.14.2.2 มีขนาดเพียงพอสำหรับนำกระแสลัดวงจรทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้ได้อย่างปลอดภัย �������������������� 4.14.2.3 มีอิมพีแดนซ์ต่ำเพียงพอที่จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินไม่ให้สูงไป และช่วยให้เครื่องป้องกันกระแสเกินในวงจรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ �������� 4.14.3 การใช้หลักดินร่วมกัน ������������������� ถ้าระบบไฟฟ้ากระแสสลับมีการต่อลงดินภายในอาคารหรือสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 4.3 และข้อ 4.4 แล้ว ต้องใช้หลักดินนั้นสำหรับต่อเครื่องห่อหุ้มสายและส่วนที่เป็นโลหะของ บริภัณฑ์ไฟฟ้าลงดินด้วยสำหรับอาคารที่รับไฟจากแหล่งจ่ายไฟแยกกันต้องใช้หลัก ดินร่วมกัน หลักดินสองหลักหรือมากกว่าที่ต่อฝากว่าที่ต่อฝากเข้าด้วยกันอย่างใช้ได้ผลดี ถือว่าเป็นหลักดินหลักเดียว �������� 4.14.4 การต่อของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องการต่อลงดินจะต้องต่อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ ������������������� 4.14.4.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าประเภทต่างๆตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ4.17 ������������������� 4.14.4.2 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมไปกับสายวงจรในท่อสายเดียวกันหรือ เป็นส่วนหนึ่งของสายเคเบิลหรือสายอ่อนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจหุ้มฉนวน หรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ฉนวนหรือเปลืกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง ���������������������������������� ข้อยกเว้นที่1� สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนขนาดใหญ่กว่า 10 ตร.มม. อนุญาติให้ทำเครื่องหมายที่ถาวรเพื่อแสดงว่าเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าได้ การทำเครื่องหมาย ต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ����������������������������������������������������� 1.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นทั้งหมดออก ����������������������������������������������������� 1.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นเป็นสีเขียว ����������������������������������������������������� 1.3) ทำเครื่องหมายบนฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว ���������������������������������� ข้อยกเว้นที่2 ถ้าการบำรุงรักษากระทำโดยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อนุุญาติให้ทำเครื่องหมายถาวรที่ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าถึงได้ที่ฉนวนของ ตัวนำในเคเบิลหลายแกนเพื่อนแสดงว่าเป็นเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า การทำเครื่องหมายต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ ����������������������������������������������������� 2.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองไม่เห็นทั้งหมดออก ����������������������������������������������������� 2.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกที่มองเห็นเป็นสีเขียว ����������������������������������������������������� 2.3) ทำเครื่องหมายเป็นฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว �������� 4.14.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ถือว่ามีการต่อลงดินอย่างใช้ได้ผลดี ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า เมื่อมีสภาพดังต่อไปนี้ถือว่ามีการต่อลงดินแล้ว ������������������� 4.15.5.1 บริภัณฑ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ยึดแน่และสัมผัสทางไฟฟ้ากับโครงสร้างโลหะที่ รองรับและโครงสร้างโลหะดังนั้นต่อลงดินตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.14.4 แล้วไม่อนุญาตให้ใช้โครงสร้างโลหะของอาคารแทนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้น ������������������� 4.15.5.2 โครงโลหะของผู้โดยสารลิฟต์ที่แขวนกับลวดสลิง ซึ่งคล้องหรือพันรอบเพลากว้านของมอเตอร์ลิฟต์ที่ต่อลงดินตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ� 4.14.4 �������� 4.14.6 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีพร้อมเต้าเสียบ ซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องต่อลงดินให้ใช้วิธีใดดังต่อไปนี้ ������������������� 4.14.6.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมกับสายวงจรอยู่ภายในสายเคเบิลสหรือ สายอ่อนเดียวกัน และปลายสายต่อเข้ากับขาดินของเต้าเสียบชนิดขาดินตายตัวสายดินของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าอาจไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ถ้าหุ้มฉนวนสีของฉนวนต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง ������������������� 4.14.6.2 โดยใช้สายอ่อนหรรือแถบโลหะแยดต่างหากอาจจะหุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้แต่ ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ 4.15 การต่อฝาก การต่อฝากมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า และสามารถรับกระแสลัดวงจรใดๆที่อาจเกิดขึ้น ������� 4.15.1 การต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน ������������������ ส่วนที่เป็นโลหะซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องมีการต่อฝากถึงกันอย่างใช้ผลดี ������������������ 4.15.1.1 ท่อสายรางเคเบิลและเปลือกนอกที่เป็นโลหะของตัวนำประธาน ������������������ 4.15.1.2 เครื่องห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน ������������������ 4.15.1.3 ท่อสายโลหะของสายต่อหลักดิน 4.15.2 วิธีต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน ���������� การต่อถึงกันทางไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานที่ต้องปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ������������������ 4.15.2.1 ต่อฝากตู้บริภัณฑ์ประธานเข้ากับตัวนำประธานเส้นที่การต่อลงดินตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.22 �������������������������������� ยกเว้น บริภัณฑ์ประธานของห้องชุดให้เป็นไปตามข้อ 9.1.12 ������������������ 4.15.2.2 โดยใช้ข้อต่อแบบมีเกลียวต่อเข้ากับกล่องหรือสิ่งห่อหุ้มที่ทำเกลียวในเมื่อ ใช้ท่อโลหะหนาหรือท่อโลหะหนาปานกลางการต่อให้ใช้ประแจขันให้แน่น ������������������ 4.15.2.3 โดยใช้ข้อต่อแบบไม่ต้องใช้เกลียวต่อให้ท่อใให้แน่นสนิทเมื่อใช้โลหะบาง ������������������ 4.15.2.4 ใช้สายต่อฝากหรืออุปกรณ์อื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมรอบรอยต่อที่ช่องน็อกเอา ต์เพื่อให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า ������������������ 4.15.2.5 ใช้อุปกรณ์อื่นๆเช่น ใช้บุชชิงแบบมีขั้วต่อสายดินพร้อมกับล็อกนัต ��������� 4.15.3 การต่อขั่วต่อสายดินของเต้าเข้ากับกล่องโลหะ ��������������������� ขอยกเว้นที่1 กล่องโลหะเป็นแบบติดตั้งบนพื้นผิว การสัมผัสโดยตรงระหว่างกล่องกับเต้ารับถือได้ว่าเป็นการต่อลงดินของเต้ารับ เข้ากับกล่อง������������������������������������������� �������� ข้อยกเว้นที่ไม่ใช้กับเต้ารับที่ติดตั้งบนฝาครอบที่ได้ระบุว่ามีความต่อ เนื่องทางไฟฟ้าาเพียงพอระหว่างกับเต้ารับ ���� ขอยกเว้นที่2 อุปกรณ์สัมผัสหรือก้านยื่นซึ่งได้ออกแบบและระบุว่าให้ใช้ร่วมกัยสกรูยึด เพื่อเป็นวงจรต่อลงดินระหว่างเต้ารับกับกล่องชนิดติดตั้งเสมอผิว ���� ขอยกเว้นที่3 กล่องแบบติดตั้งบนพื้นผิวซึ่งได้ออกแบบและระบุว่ามีความต่อเนื่องลงดินทางไฟฟ้าระหว่างกล่องกับอุปกรณ์ ���� ขอยกเว้นที่4 ในกรณีที่ต้องการลดการลบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในวงจรสายดิน อาจใช้เต้ารับที่มีฉนวนคั่นระหว่าขั้วต่อลงดินกับสิ่งที่ยึดหรือติดตั้ง เต้ารับโดยต่อขั้วต่อสายดินของเต้ารับเข้ากับสายดินของบริภัณฑืไฟฟ้าเป็นสาย หุ้มฉนวนเดินร่วมไปกับสายของวงจร สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านนี้อาจ������������������������������������������� เดินผ่านแผงย่อยแผงเดียวหรือหลายแผงโดยไม่ต้องต่อกับตัวแผงก็ได้แล้วไปต่อ เข้ากับขั้วต่อสายดินของบริภัณฑ์ประธานด้านไฟออก �������� 4.15.4 การต่อฝาห่อหุ้มอื่นๆ �� ท่อสายที่เป็นโลหะ รางเคเบิล เครื่องห่อหุ้มโครงเครื่องประกอบในการติดตั้งและส่วนที่เป็นนโลหะอื่นๆที่ ไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าสิ่งเหล่านี้ทำทำหน้าที่สายดินต้องมีการต่อถึงกันทางไฟฟ้าและสามารถลด กระแสลัดวงจรใดๆ เกลียวและหน้าสัมผัสให้ขูดสีหรือสิ่งเคลือบอื่นๆที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าออก ก่อนทำการต่อ เว้น������������������� แต่ใช้อุปกรณ์การต่อที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะ �������� 4.15.5 การต่อฝากในบริเวณอันตราย ������������������� ส่วนเป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่ทุกระดับ แรงดันไฟฟ้าซึ่งอยู่ในบริเวณอันตรายต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าตามวิธีที่กำหนด ไว้ในข้อ 4.15.2.2-4.15.2.5 โดยเลือวิธีให้เหมาะกับการเดินสาย ������� 4.15.6สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ������������������ 4.15.6.1 สายต่อฝากลงดิน แลละสายต่อของฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดตัวนำทองแดง ������������������ 4.15.6.2 สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.22 เมื่อเป็นสายต่อลงดินของวงจรหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าและข้อ 4.24 เมื่อเป็นสายต่อหลักดิน ����������������� 4.15.6.3 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าทางด้านไฟเข้าของบริภัณฑ์ประธานและสายต่อฝากลงดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดของสายยต่อหลักดินที่กำหนดไว้ในตาราง 4-1ถ้าสายเส้นไฟของตัวนำประธานมีขนาดใหณ่กว่าาที่กำหนนดไว้ในตาราง 4-1ให้ใช้สายต่อขนาดไม่เล็กกว่าร้อยละ 12.5ของตัวนำปรระธานขนาด������������������������������� ใหญ่ที่สูดถ้าใช้ตัวนำประธานเดินในท่อสายหรือเป็นสายเคเบิลมากกว่า 1 ชุดขนาดกัน แต่ละท่อสายหรือสายเคเบิลให้ใช้สายต่อฝากที่มีขนาดที่ไม่เล็กว่าที่ ได้������������������������������� กำหนดไว้ในตารางดังกล่างโดยคำนวนจากขนาดของสายในแต่ละท่อสายหรือสายเคเบิล �4.15.6.4 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธานต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า ขนาดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2 4.16 ชนิดของสายต่อหลักดิน ������� สายต่อหลักดินต้องเป็นตัวนำทองแดง เป็นชนิดตัวเดียวหรือตัวนำตีเกลียวหุ้มฉนวนและต้องเป็นตัวนำเส้นเดียวยาว ตลอดโดยไม่มีการต่อ แต่ถ้าเป็นบัสบาร์อนุญาตให้มีการ������� ต่อได้ 4.17 ชนิดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เดิมมร่วมสายไปกลับสายของวงจรต้องเป็นดังต่อไปนี้ ������ 4.17.1 ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ������ 4.17.2 เปลือกโลหะของสายเคเบิลชนิด AC ,MI และ MC ������ 4.17.3 บัสเวย์ที่ได้ระบุให้ใช้แทนสายสำหรับต่อลงดินได้ 4.18 วิธีติดตั้งสายดิน ������� 4.18.1 สายต่อหลักดินหรือเครื่องห่อหุ้มต้องยึดแน่นกับสิ่งรองรับสายนี้จะต้องร้อย ในสายท่อไฟฟ้าหรือใช้เคเบิลแบบมีการเกราะเมื่อใช้ในสถานที่ที่อาจเกิดความ เสียหายหายทางกายภาพ ������� 4.18.2 เครื่องห่อหุ้มโลหะของสายต่อหลักดินจะต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้านับ ตั้งแต่จุดที่ต่อกับตู้ หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าจนถึงหลักดิน และมีการต่อเต้ากับหลักดินอย่างมั่นคงด้วแคลป์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสม ถ้าเครื่องหุ้มห่มนี้ไม่ต่อเนื่องทางไฟฟ้าให้ใช้สายต่อฝากที่ปลายทั้งสอง ข้างของเครื่องหุ้มห่ม ������� 4.18.3 สายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็น เกราะสายเคเบิล เปลือกนอกโลหะของสายเคเบิลหรือเป็นสายแยกในช่องเดินสายหรือแกนๆหนึ่งใน เคเบิลต้องติดตั้งใช้เครื่องประกอบ หัวต่อ ข้อต่อที่ได้รับการรับรองสำหรับวิธีการเดินสายวิธีนั้นๆในการติดตั้งต้องใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมและต้องขันให้แน่ 4.19 ขนาดสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ������� สายต่อหลักดินต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-1 4.20 ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ������� 4.20.1 กำหนดให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2 ������� 4.20.2 ในกรณีเดินสายควบ ถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ให้เดินขนานกันไปในแต่ละท่อสาย และให้คำนวณขนาดสายดินจากพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกิน ของวงจรนั้น ���������� ในกรณีเดินสายหลายวงจรในท่อสายเดียวกัน แต่ใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกันในท่อสายนั้น ให้คำนวณขนาดสายดินพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ใหญ่ ที่สุดที่ป้องกันในสายท่อสายนั้น ���������� ในกรณีเครื่องป้องกันกระแสเกินเป็นชนิดอัตโตนมัติปลดวงจรทันที หรือเป็นเครื่องป้องกันกระแสลัดวงจรของมอเตอร์ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า นั้นให้เลือกตามพิกัดของเครื่องป้องกันการใช้งานเกินกำลังของมอเตอร์ ���������� ข้อยกเว้นที่1 สำหรับสายพร้อมเต้าเสียบของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งใช้ไฟฟ้าจากวงจรซึ่งมีเครื่อง ป้องกันกระแสเกินมีขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็นตัวนำทองแดงและเป็นแกนหนึ่งของสายอ่อน อาจมีขนาดเล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตาราง 4-2 ได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดสายตัวนำของวงจรและไม่เล็กกว่า1.0 ตร.มม. ���������� ข้อยกเว้นที่2 สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ไม่ต้องเป็นต้องใหญ่กว่าสายตัวนำของวงจรของบริภุณฑ์ไฟฟ้านั้น ���������� ข้อยกเว้นที่3 ในกรณีที่ใช้เกราะหุ้มสายเคเบิลหรือเปลือกหุ้มสายเคเบิล เป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามที่อนุญาตในข้อ 4.17.2 4.21 จุดต่อสายหลักดิน (เข้ากับหลักดิน) ������� จุดต่อของสายต่อหลักดินเข้ากับหลักดินต้องอยู่ในที่เข้าถึงได้ โดยต้องเลือกจุดต่อและวิธีการต่อเพื่อให้มีความมั่งคงทนและใช้ได้ผลดี ������� ข้อยกเว้น จุดต่อกับหลักดินที่อยู่ในคอนกรีต หรือฝังอยู่ในดิน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่ซึ่งเข้าถึงได้ ����������������������������������������������������� ��ตารางที่4-1 ������������������������������ �ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ขนาดตัวนำประธาน     (ตัวนำทองแดง)     (ตร.มม.)     ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน     (ตัวนำทองแดง)     (ตร.มม.)     ไม่เกิน 35     10*     เกิน 35 แต่ไม่เกิน 50     16     เกิน 50แต่ไม่เกิน 95     25     เกิน 95 แต่ไม่เกิน 185     35     เกิน 185แต่ไม่เกิน 300     50     เกิน 300 แต่ไม่เกิน 500     70     เกิน 500     95       หมายเหตุ* แนะนำให้ติดตั้งท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลาง ท่อโลหะบาง หรืออโลหะ และการติดตั้งสอดคล้องตามข้อ 5.4. และ 5.8 4.22 การต่อสายดินและสายต่อฝากต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน หรือใช้หัวต่อแบบบีบ ประกับจับสายหรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามใช้ต่อโดยการบัดกรีเป็นหลัก 4.23 การต่อสายดินเข้ากับกล่อง ������ ในแต่ละกล่องถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอยู่หลายเส้น แต่ละเส้นต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าเป็นอย่างดี และต้องจัดให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนแม้ว่าจะถอดหรือปลด วงจรเครื่องประกอบ หรือสิ่งอื่นที่ได้รับไฟฟ้าจากกล่องนั้น ������� 4.23.1กล่องโลหะ ����������������� ต้องต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องโลหะ ซึ่งอาจเป็นสายเดียวหรือสายเข้ากับกล่องโลหะ โดยต่อที่สลักเกลียวสายดิน ซึ่งห้ามใช้งานในหน้าที่อื่น หรือใช้ต่อในอุปกรณ์ที่ได้ระบุให้ใช้สำหรับการต่อลงดิน �� 4.23.2 กล่องอโลหะสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องอโลหะต้องต่อเข้ากับขั้ว ต่อสายดินเข้าเต้าเสียนหรืออุปการณ์ประกอบหรือติดตั้งไว้ในกล่องนี้ ������������������������������������������������������������������������������������������ ตารางที่ 4-2 ������������������������������������������������������������������������ ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเตรื่องป้องกันกระแสเกินไม่เกิน     (แอมแปร์)     ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า     (ตัวน

Image Alternative text
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนประกอบของอุปกรณ์การดูและรักษาการซ่อมแซม   เครื่อง ควบคุมอุณหภูมิเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าอุณหภูมิ ที่กำหนดไว้ โดยจะนำมาใช้ในการสั่งการให้กับอุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความ เย็น ทำงาน ตามที่ได้ตั้งค่าอุณหภูมิไว้ การนำมาใช้งานและการควบคุมก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน   ต้วอย่างเครื่องควบคุมอุณภูมิ เครื่อง วัดอุณหภูมิก็จะมีส่วนที่รับอุณหภูมิ (input) จากหัววัดอุณหภูมิ หรือที่เรียกกันว่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแล้วมาแสดงผลที่หน้าจอ Display พร้อมกับควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ได้กำหนดไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ก็จะมีในส่วนของการสั่งงาน (output) สั่งงานให้อุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความเย็นทำงานให้ได้ตาม ค่าที่กำหนดไว้   หัววัดอุณหภูมิ   ตัวทำความร้อน Heater   ตัวอย่างวงจรในการนำไปใช้งาน การ ต่อวงจรและการทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิจะมีข้อแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่ กับผู้ผลิต ก่อนการนำไปใช้งานควรมีการศึกษาจากคู่มือของเครื่องควบคุมอุณหภูมินั้นๆ

Image Alternative text
สารแม่เหล็ก

     สารแม่เหล็ก ในธรรมชาตินั้นมีหินชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะดึงดูดโลหะบางชนิดได้ เช่น เหล็ก หินชนิดนี้เรียก ว่า แร่เหล็กแมกนิไทต์ การที่แร่เหล็กสามารถดึงดูดวัตถุที่เป็นเหล็กได้เรียกว่า มีอำนาจแม่เหล็กและแม่เหล็กชนิดนี้เรียกว่า แม่เหล็กธรรมชาติ ค่าต่างๆ ที่ควรทราบเกี่ยวกับแม่เหล็ก ขั้วแม่เหล็ก(pole)ขั้วแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะมี2ขั้ว คือขั้วเหนือและขั้วใต้อำนาจแม่เหล็กที่แสดงออกมานั้นจะเกิดได้สองลักษณะคือ การผลักกันและการดูดกัน การที่ขั้วแม่เหล็ก ผลักกันเนื่องจากเส้นแรงแม่เหล็ก(Flux line)พุ่งสวนทางกัน เช่น เมื่อนำขั้วเหนือมาวางใกล้กับขั้วเหนือหรือขั้วใต้วางใกล้กับขั้วใต้ก็จะ เกิดการผลักกัน(ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 2549 :182) เส้นแรงแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็ก หมายถึง ส่วนของอำนาจแม่เหล็กซึ่งเดินทางระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองเป็นเส้นทางที่ แน่นอนบริเวรใดที่เส้นแรงแม่เหล็กเดินทางผ่าน บริเวณนั้นจะมีอำนาจแม่เหล็กและเรียกว่าสนามแม่เหล็ก โดยปกติอำนาจแม่เหล็กที่แสดงออก เช่น การดึงดูดวัตถุที่เป็นเหล็กเป็นต้นและจะแสดงได้ในเวลาบริเวณที่มีเส้นแรงแม่ เหล็กเดินทางไปถึง หรือบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก เท่านั้น (ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 2549 :179) เส้นโค้งกำเนิดแม่เหล็ก เส้นโค้งกำเนิดแม่เหล็กเป็นเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่น ของเส้นแรงแม่เหล็ก Bกับความเข็มของสนามแม่เหล็กHโดยความเข็มของสนามแม่เหล็ก จะขึ้นอยู่กับค่ากระแสไฟฟ้าI และจำนวนรอบที่พันของขดลวดNที่พันอยู่บนแกนของสารที่เป็นสารแม่เหล็ก ถ้ากำหนดให้ความยาวเฉลี่ยของแกนIและจำนวนรอบที่พันมีค่าคงที่ วัสดุแต่ละชนิดที่เป็นสารแม่เหล็กจะมีลักษณะเส้นโค้ง B-H ที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กต่างกันโดยที่ความเข็ม ของสนามแม่เหล็กเท่ากันทั้งนี้เพราะว่าวัสดุที่เป็นสารแม่เหล็กมีค่าความซาบ ซึมได้ไม่เท่ากัน ถ้าสารชนิดใดมีค่าความซาบซึมได้มากกว่าก็จะให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่ เหล็กมากกว่า ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia